ภายใต้ร่ม ‘ใช้หลักธรรมนำทางโลก’ ‘ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ฯ ฉบับ 2’ ยกระดับองค์กรสงฆ์ เชื่อมสุขภาวะชุมชน ให้วัดเป็นที่พึ่ง เสริมระบบบริการสุขภาพ
20 พฤษภาคม 2566
! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

“(ร่าง) ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ .. ....” หรือธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ฯ ฉบับที่ 2 ซึ่งเป็นการทบทวนจาก ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ .. 2560 ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอการเสนอต่อที่ประชุมมหาเถรสมาคม เพื่อประกาศใช้ภายในเดือน มิ.. 2566 นี้


ด้วยการทบทวนของคณะทำงานที่เกี่ยวข้องในฝ่ายพระสงฆ์ ฝ่ายฆราวาส ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน ซึ่งเข้ามามีส่วนร่วมในการปรับปรุงธรรมนูญฯ ฉบับล่าสุดนี้ให้มีความสมบูรณ์ ก็เพื่อที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางด้านสุขภาวะของพระสงฆ์ แม่ชี รวมถึงสามเณรทั่วประเทศในระยะ 5 ปีข้างหน้า บนเป้าหมายในการยกระดับองค์กรสงฆ์ หรือวัด ให้ใกล้ชิดกับชุมชน หนุนเสริมกันในมิติของสุขภาพมากขึ้น

 

เพื่อทำความเข้าใจถึงเนื้อหาของธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ฯ ฉบับที่ 2 ให้เห็นภาพมากขึ้น Health Station ได้ร่วมพูดคุยกับ ผศ.ดร.ปฏิธรรม สำเนียง อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์ ในฐานะเลขานุการคณะทำงานวิชาการทบทวนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ .. 2560 ที่มาบอกเล่าถึงเป้าหมายของการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพระสงฆ์ฯ ฉบับต่อไป

 

ผศ.ดร.ปฏิธรรม ให้ภาพว่า ธรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ฯ ฉบับที่ 2 จะยังคงในหลักการและเป้าหมายเดิมคือใช้หลักธรรมนำทางโลกเหมือนกับฉบับแรก ด้วยการมุ่งเป้าหมายขับเคลื่อนเพื่อให้พระสงฆ์สามารถดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ด้วยกันเองได้ตามหลักพระธรรมวินัย ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล และในระดับองค์กรของคณะสงฆ์

 

ขณะเดียวกันยังเป็นการขับเคลื่อนเพื่อหนุนเสริมให้ชุมชน สังคม รวมถึงภาคีเครือข่ายภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน ได้เข้ามาดูแลหรืออุปถัมภ์พระสงฆ์อย่างมีองค์ความรู้ที่ถูกต้อง ตลอดจนส่งเสริมบทบาทให้กับพระสงฆ์และวัด เป็นอีกหนึ่งหน่วยของการช่วยเหลืองานด้านสุขภาวะในระดับชุมชน

 

ทั้งนี้ สิ่งที่ถูกเพิ่มเติมเข้ามาในธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ฯ ฉบับที่ 2 ซึ่งเป็นประเด็นที่ทุกภาคีเครือข่ายได้ระดมข้อคิดเห็นตรงกัน คือการเพิ่มความครอบคลุมด้านสุขภาพในทุกมิติให้กับสามเณรทุกรูป ซึ่งมีอยู่กว่า 4-5 หมื่นรูปในประเทศไทย ให้มีการขับเคลื่อนอย่างเป็นองค์รวมและเป็นส่วนหนึ่งของภาพใหญ่ในธรรมนูญฯ ฉบับนี้

 

นั่นเพราะในช่วงที่ผ่านมา ภาคีเครือข่ายต่างๆ ยังได้ร่วมกันขับเคลื่อนจนทำให้เกิด ธรรมนูญสุขภาพโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา .. 2566 รวมถึง ธรรมนูญสุขภาพโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ระดับเขต จำนวน 14 เขต ตลอดจน ธรรมนูญสุขภาพโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ระดับโรงเรียน จำนวน 403 โรงเรียน

 

หลังการนำร่องธรรมนูญสุขภาพโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พบว่าเกิดประสิทธิภาพในการขับเคลื่อน ทำให้สามเณรมีสุขภาวะทางร่างกาย จิตใจ และปัญญาในทางที่ดีขึ้น ทางแผนกบาลีศึกษา จึงเห็นว่าน่าจะมีการขับเคลื่อนด้วย จึงขอเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาวะสามเณรด้วยกัน โดยเฉพาะการบูรณาการธรรมนูญสุขภาพฯ เข้าไปกับหลักสูตรของสถานศึกษาผศ.ดร.ปฏิธรรม ระบุเพิ่มเติม

 

เธอกล่าวอีกว่า ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ฯ ฉบับที่ 2 จะยังเป็นการเปิดโอกาสให้กับภาคีเครือข่ายอื่นๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นองค์กรที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนงานสุขภาวะของพระสงฆ์ แต่อาจยังไม่ได้มีส่วนเข้ามาร่วมขับเคลื่อนในฉบับแรก เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กรมการศาสนา และเครือข่ายภาคเอกชน ได้เข้ามาหนุนเสริมการทำงานร่วมกันในเนื้อหาของธรรมนูญฯ ฉบับนี้



 

นอกจากนี้ ในการร่วมพูดคุยและทบทวน ธรรมนูญฯ ฉบับแรก ภาคีเครือข่ายยังพบว่ามีข้อจำกัดในเรื่องของการนำเนื้อหาไปขับเคลื่อนอย่างจริงจัง ดังน้ันในเนื้อหาของธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ฯ ฉบับที่ 2 ที่จะนำเสนอต่อมหาเถรสมาคมนี้ จึงให้มีการระบุเรื่องของการติดตามการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ฯ ฉบับที่ 2” ให้อยู่ในวาระการประชุมของคณะสงฆ์ในระดับภาค และระดับจังหวัด ทุกการประชุม เพื่อให้เกิดการรายงานและติดตามการขับเคลื่อนอยู่เสมอ

 

ดังนั้นหลังจากนี้จะมีการมอนิเตอร์การขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ฯ โดยคณะสงฆ์เอง ขณะที่ทางโลกก็จะร่วมหนุนเสริมตามหน้าที่ของศาสนิกชนที่ดี โดยภาคีเครือข่ายต่างๆ จะทำแผนรองรับเพื่อร่วมขับเคลื่อน เช่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะมีแผนขับเคลื่อนการจัดทำข้อมูลเพื่อส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์ หรือ กรมอนามัย ที่อบรมพระสงฆ์ให้เป็นพระจิตอาสาด้านสุขภาพให้กับชุมชน คอยแจ้งข่าวสารด้านสุขภาพต่างๆ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ร่วมกัน คือ พระแข็งแรง วัดมั่นคง ชุมชนเป็นสุขผศ.ดร.ปฏิธรรม อธิบาย

 

เลขานุการคณะทำงานฯ รายนี้ ยังให้ภาพรวมของการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ฯ ฉบับที่ 2 ที่จะเกิดขึ้นในอีก 5 ปีข้างหน้า ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการนำพาสุขภาวะ ที่เชื่อมโยงมายังพระสงฆ์ แม่ชี และสามเณร เกิดความยั่งยืนอย่างเป็นระบบ ที่ทำให้สุขภาพกาย ใจ ปัญญา รวมถึง สังคม มีความแข็งแรง ด้วยการให้พระสงฆ์มีบทบาทด้านสุขภาพ มีองค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพ ระหว่างพระสงฆ์ด้วยกัน รวมถึงต่อชุมชน

 

ที่สำคัญ เมื่อพระสงฆ์เข้าใจระบบบริการสุขภาพ ก็จะช่วยญาติโยมในชุมชนได้ โดยเฉพาะกลุ่มคนด้อยโอกาส กลุ่มเปราะบาง ที่อาจเข้าไม่ถึงข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ เช่น การไปรับวัคซีน หรือคำแนะนำดูแลสุขภาพเมื่อเกิดโรคต่างๆ ก็จะมีพระสงฆ์ที่คอยชี้แจงข่าวสารต่างๆ ขณะที่วัด ก็จะเป็นองค์กรสงฆ์ที่ช่วยสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับชุมชนได้ด้วยผศ.ดร.ปฏิธรรม กล่าวทิ้งท้าย