ดอกผลจาก ‘สมัชชาสุขภาพฯ’ ปี 56 สู่ กม.คุมการตลาด ‘อาหาร-เครื่องดื่ม’ รูปธรรมความพยายามลด หวาน-มัน-เค็ม ป้องกันผลกระทบสุขภาพเด็ก-เยาวชน
26 พฤษภาคม 2566
! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

(ร่าง) ...ควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก .. ... ทั้ง 4 หมวด 42 มาตรา ถูกนำขึ้นเวทีประชาพิจารณ์เมื่อวันที่ 23 .. 2566 โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกันจัดขึ้นเพื่อระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนในสังคม

 

ในเวทีนี้มีภาคีเครือข่ายรวมกว่า 28 องค์กร ทั้งตัวแทนภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อปกป้องคุ้มครองเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี จากการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอาหารและเครื่องดื่มที่มีปริมาณไขมัน น้ำตาล และโซเดียมที่เกินเกณฑ์มาตรฐาน

 

นั่นเพราะตลอดกว่า 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องเจอกับปัญหาภาวะเด็กที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ หรือเด็กอ้วน มากขึ้นถึง 2 เท่า และเจอได้ในทุกกลุ่มวัยตั้งแต่วัยเด็กเล็กไปถึงวัยรุ่น อีกทั้งยังไม่มีกฎหมายใดในประเทศที่ใช้ควบคุมการตลาดของสินค้าอาหารและเครื่องดื่มสำหรับเด็ก เพื่อส่งเสริมให้มีอาหารและเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพอยู่ในท้องตลาดมากขึ้น

 

หนึ่งในเจ้าภาพหลักของการจัดเวทีครั้งนี้อย่าง สช. โดย สุทธิพงษ์ วสุโสภาพล รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ในฐานะรองประธานกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ได้มาร่วมบอกเล่ากับ Health Station ถึงประเด็นที่น่าสนใจในเวทีประชาพิจารณ์ (ร่าง) ...ควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็กฯ ครั้งนี้

 

สุทธิพงษ์ เล่าถึงจุดเริ่มต้นของกฎหมายฉบับดังกล่าว ซึ่งเป็นดอกผลที่เกิดจากการเสนอเป็นระเบียบวาระใน สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 .. 2556 ซึ่งสมาชิกสมัชชาสุขภาพทั่วประเทศได้ร่วมกันมีฉันทมติร่วมกันในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพ .. 2557-2561”

 

ทั้งนี้ หนึ่งในรายละเอียดสำคัญของแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว คือการควบคุมกลยุทธ์การตลาดอาหาร และเครื่องดื่มสำหรับเด็ก ตั้งแต่วัยแรกเกิดจนถึงอายุ 18 ปี โดยมีกรมอนามัย เป็นแกนหลักที่มีบทบาทในการระดมภาคีเครือข่ายมาร่วมกันพัฒนานโยบายสาธารณะ



 

ดังนั้นจึงเป็นที่มาของ (ร่าง) ...ควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็กฯ ซึ่งใช้เวลาร่วมกันพัฒนาขึ้นมากว่า 2 ปี โดยมีสาระสำคัญคือ กำหนดให้ สธ. มีบทบาทหลักในการควบคุมดูแลกฎหมาย พร้อมกับให้มีคณะกรรมการควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็กหรือ คตอด. ซึ่งปลัด สธ. เป็นประธาน ขึ้นมากำกับให้ผู้ประกอบการปรับปรุงสูตร ลดหวาน มัน เค็ม ของอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็กน้อยลง

 

นอกจากนี้ ร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวยังกำหนดโทษเอาไว้ หากมีผู้ประกอบการฝ่าฝืนจะต้องรับโทษทางแพ่ง เป็นการปรับไม่เกิน 2 แสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 1 หมื่นบาท ตลอดเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง โดยไม่มีโทษทางอาญา หรือการห้ามขาย ขณะที่การบริจาคหรือการทำ CSR ของผู้ประกอบการ จะยังสามารถทำได้ หากแต่จะห้ามเห็นโลโก้ของผลิตภัณฑ์

 

รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ อธิบายเพิ่มว่า ในส่วนของ สช. ก็จะเป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่ร่วมขับเคลื่อนเป้าหมายดังกล่าว โดยจัดให้มีพื้นที่กลางสำหรับทุกภาคส่วนในการระดมข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ คำท้วงติงจากทุกภาคีเครือข่าย รวมไปถึงหน่วยงานทุกภาคส่วนที่มีผลกระทบในทุกระดับ เพื่อให้ (ร่าง) ...ควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็กฯ ฉบับนี้ มีความสมบูรณ์มากที่สุดก่อนจะมีการพิจารณาประกาศบังคับใช้

 

จากการประชาพิจารณ์ พบว่ากว่า 90% เห็นด้วยกับร่างกฎหมายฉบับนี้ แต่จะมีบ้างที่ยังมีข้อท้วงติงจากภาคเอกชนหรือผู้ประกอบการ เมื่อต่อไปจะมีเงื่อนไขจากกฎหมายเข้ามากำกับ การผลิตอาหารและเครื่องดื่มที่ต้องมีคุณภาพดีต่อสุขภาพ ซึ่งอาจมีข้อจำกัดอยู่บ้าง โดยเฉพาะการสื่อสารทางการตลาด หรือการทับซ้อนกับ ...อาหาร .. 2522 ที่ระบุว่าหากผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากครบถ้วน และขึ้นทะเบียนอนุญาตอย่างถูกต้องก็สามารถจำหน่ายได้ แต่ในร่างกฎหมายฉบับนี้จะระบุว่า แม้จำหน่ายได้ก็ต้องมีการควบคุมคุณภาพ ให้เหมาะสมกับวัยของผู้บริโภค รวมไปถึงกลยุทธ์การตลาดที่โน้มน้าวผู้บริโภค ทั้งการแจกของ ทดลองใช้ ก็จะมีการควบคุมเช่นกันรองเลขาธิการฯ เน้นย้ำ



 

กระนั้นในภาพรวมของการประทำประชาพิจารณ์ สุทธิพงษ์ สะท้อนว่าภาคีเครือข่ายทั้ง 28 หน่วยงานที่เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น ส่วนใหญ่มองเห็นถึงประโยชน์ของประชาชนมากกว่า เพราะการดูแลสุขภาพของเด็กตั้งแต่อายุ 18 ปีลงมาถึงวัยแรกเกิด จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตเมื่อเด็กเหล่านี้โตเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งสำคัญอย่างมากต่อทุกมิติในการพัฒนา เพราะผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี ก็จะส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีตามมา

 

อย่างไรก็ตาม ทุกความเห็นที่ถูกเสนอผ่านเวทีประชาพิจารณ์ รวมกว่า 35 ความคิดเห็น รองประธานกระบวนการฯ รายนี้ ระบุว่า ขั้นต่อไปจะมีคณะทำงานพัฒนาประเด็น รวมถึงคณะทำงานและผลักดัน (ร่าง) ...ควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็กฯ ที่มีตัวแทนจากหลายภาคีเข้าร่วม ทั้งตัวแทนองค์การอนามัยโลก (WHO) องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) และสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ที่จะรวบรวมทุกความคิดเห็น เพื่อสังเคราะห์และปรับปรุงร่างกฎหมายให้มีความสมบูรณ์

 

ร่างกฎหมายฉบับนี้เดินทางมาไกลมาก หากมองตั้งแต่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ในปี 2556 ซึ่งเป็นสารตั้งต้นให้เราได้ขับเคลื่อนกันต่อ จนกระทั่งครบ 10 ปี ภาคีเครือข่ายก็ได้ร่วมกันยกร่างกฎหมายนี้ออกมาในที่สุด ซึ่งคณะทำงานคาดว่าอย่างเร็ว น่าจะประกาศบังคับใช้กันได้ภายในปี 2567 แต่ทั้งนี้ก็ยังคงต้องพึ่งพิงภาคการเมืองในการผลักดันต่อ ให้กฎหมายฉบับนี้ถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ของเด็กไทยในอนาคตสุทธิพงษ์ กล่าวในตอนท้าย