75 ปี การก่อตั้ง 'องค์การอนามัยโลก' คำสัญญา' โลกจะสุขภาพดีถ้วนหน้า' ย้อนดูประวัติศาสตร์ ดีขึ้นอย่างไร? เสียงประชากรอยู่ตรงไหนในสัญญานี้
30 พฤษภาคม 2566
! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

ใน .. 2566 นี้ นับเป็นเวลาครบรอบ 75 ปี ของการก่อตั้ง องค์การอนามัยโลก (WHO) โดยองค์การสหประชาชาติ หรือ United Nation (UN) ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ .. 2491 เพื่อองค์การอนามัยโลกทำหน้าที่ส่งเสริมให้ประชากรทุกคนมีสุขภาพอยู่ในระดับที่ดีที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ 


รวมถึงการพยายามทำให้โลกปลอดจากภัยคุกคามทางด้านสุขภาพให้มากขึ้น และการจัดสรรบริการด้านสุขภาพให้กับประชากรที่ต้องการ


75 ปี ประวัติศาสตร์สุขภาพโลกดีขึ้นอย่างไร

จากการร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้คนกว่า 75 ปีของ WHO ชาติสมาชิกและภาคีเครือข่ายทั่วโลก พบประเด็นการพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่สำคัญ เช่น การจัดทำบัญชียาหลักที่จำเป็นสำหรับระบบบริการสุขภาพ การกำจัดฝีดาษ การกำจัดมาลาเรีย  ยุทธศาสตร์ระดับโลกด้านโรคไม่ติดต่อ การรักษาผู้ติดเชื้อ HIV/AIDS หลักการสากลสำหรับการควบคุมการตลาดผลิตภัณฑ์ทดแทนนมแม่ 


นอกจากนี้ ยังมีความสำเร็จที่เดินไปไกลจากเรื่องสุขภาพสู่คุณภาพชีวิต เช่น การแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน กฎอนามัยระหว่างประเทศเพื่อป้องกัน ควบคุม และตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ความร่วมมือเพื่อเมืองสุขภาวะ


ขณะที่ประเทศไทยก็มีความร่วมมือกับ WHO มานับตั้งแต่ .. 2494 เช่น ก่อกำเนิดโครงการกำจัดโรคมาลาเรีย มีแผนงานวัคซีนแห่งชาติ ตลอดจนถึงปัจจุบัน เช่น มีแผนงานความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์การอนามัยโลก (Country Cooperation Strategy : CCS) ที่ให้ความสำคัญกับ 6 เรื่องใหญ่ในระบบสุขภาพ คือ ประชากรต่างด้าว โรคไม่ติดต่อ ความปลอดภัยทางถนน ข้อมูลสุขภาพดิจิทัลกับข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพ การพัฒนาภาวะผู้นำด้านสุขภาพโลก และพัฒนาขีดความสามารถด้านสาธารณสุขฉุกเฉิน


แม้จะมีความสำเร็จด้านสุขภาพเกิดขึ้นหลายเรื่อง WHO พร้อมด้วยชาติสมาชิกก็ยังมุ่งมั่นที่สร้างความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีมากขึ้น เพราะในบางภูมิภาค เช่น ภูมิภาคแอฟฟริกายังคงต้องเผชิญภัยฉุกเฉินด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นกว่า 100 ครั้ง เป็นประจำทุกปี เช่น อหิวาตกโรค ไข้เหลือง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ไข้หัด ไวรัสอีโบลา



เสียงประชากรโลกอยู่จุดไหนในสัญญานี้

หนึ่งในภารกิจของ WHO คือการจัดสมัชชาอนามัยโลก (World Health Assembly) เพื่อจัดทำข้อตกลงด้านสุขภาพของโลกที่ชาติสมาชิกและ WHO จะร่วมพัฒนาไปด้วยกัน และในข้อตกลงที่ผ่านมาในประวิตศาสตร์สุขภาพนี้ ก็มีความพยายามที่จะผลักดันให้เสียงของประชาชนเข้าไปอยู่ในกลไกนโยบาย ด้านสุขภาพ สุขภาวะ เพื่อลดปัญหาสุขภาพ หรือความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพ เช่น มติสมัชชาอนามัยโลกครั้งที่ 74 ..2564 (WHA 74.16) เรื่องปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health) ที่ให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนในสังคม เพื่อแก้ไขปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ ที่ส่งผลต่อความไม่เป็นธรรมทางสุขภาพ


หรือมติการเสริมสร้างความพร้อมขององค์การอนามัยโลก ในการเตรียมพร้อมและการตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพ (WHA 74.7) ที่ระบุชัดเจนว่าการมีกลไกการมีส่วนร่วมในระบบสุขภาพ ตั้งแต่ก่อนวิกฤตสุขภาพ ช่วยสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการรับมือภัยฉุกเฉินสาธารณสุข ได้ดีกว่าประเทศที่ไม่มีกลไกการมีส่วนร่วมมาก่อน 


คุณค่าของการมีส่วนร่วมเช่นนี้ ทำให้ประเทศไทย พร้อมด้วยเพื่อนชาติสมาชิกจากอีกหลายประเทศร่วมกันขับเคลื่อนเรื่องการมีส่วนร่วมของสังคม (Social Participation) อีกครั้ง ให้เข้าสู่เวทีสมัชชาอนามัยโลกเพื่อยกระดับเสียงของประชาชนให้ข้าไปอยู่ในระดับการตัดสินใจนโยบาย/แผนงาน ให้มากที่สุด มั่นคงที่สุด และถูกนำไปปรับใช้มากที่สุด 

------------------------------

หมายเหตุเผยแพร่ครั้งแรกในนิตยสาร "สานพลังฉบับเดือนพฤษภาคม 2566