สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติสนับสนุนโครงการพัฒนาจัดตั้งศูนย์วิชาการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ภาคเหนือตอนล่าง

! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.


สกู๊ปข่าว/บทความ-สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติสนับสนุนโครงการพัฒนาจัดตั้งศูนย์วิชาการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ภาคเหนือตอนล่าง


มื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุมราชมนูน ศูนย์แสดงนิทรรศการ และการจัดประชุมนานาชาติ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เครือข่าย การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (Health Impact Assessment : HIA) โดยมีการจัดตั้งศูนย์วิชาการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ภายใต้สถาบันการศึกษาที่เป็นกลไกหลักในการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระดับภาค มีบทบาทในการศึกษาวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมจากจังหวัดพิษณุโลก ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ และจังหวัดเพชรบูรณ์ กว่า 50คน

ดร.วิสาข์ สุพรรณไพบูลย์ หัวหน้าโครงการ เปิดเผยว่าตาม พ...สุขภาพแห่งชาติ ได้กำหนดไว้ว่า สุขภาพทางปัญญา หมายความว่า ความรู้ที่รู้เท่าทัน และความเข้าใจอย่างแยกแยะได้ในเหตุผลความดี ความไม่ดี ความมีประโยชน์และมีโทษ ซึ่งนำไปสู่ความมีจิตใจอันดีงาม บรรลุถึงความสุขที่แท้จริง จากแนวคิด ทำให้เกิดการดำเนินการ การจัดตั้งศูนย์วิชาการภาคเหนือตอนล่าง กำหนดกรอบในด้านกลไก เช่น เขตสุขภาพเพื่อประชาชน กขป. สมัชชาสุขภาพจังหวัด ภาคประชาสังคม ภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้นำชุมชน พระสงฆ์ อสม./ทสม. ครู/โรงเรียน อปท.และภาควิชาการ ในด้านการประเมินผลกระทบนั้น เป็นการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนและสังคม มีฐานข้อมูล การตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหา แนวทางการพัฒนาร่วมกัน ที่สำคัญคือการมีส่วนร่วม ในการกลั่นกรอง การกำหนดขอบเขต การประเมินผลกระทบ การทบทวน รายงานผลการประเมิน การผลักดันเข้าสู่การตัดสินใจ และการติดตามประเมินผล


อย่างไรก็ตาม ได้มีกำหนดการลงพื้นที่ ศึกษารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้ประกอบอาชีพ การเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุม โรคจากแอสเบสตอส กรณีศึกษา ผู้ประกอบอาชีพทำเงินทำทองโบราณ ณ อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ในวันที่ 15-16 พฤษภาคม 2566 นี้  เนื่องด้วยกระบวนการผลิตเครื่องทองสมัยโบราณของชาวศรีสัชนาลัยที่ใช้กรรมวิธีการผลิตด้วยมือจึงเป็นต้นเหตุที่สำคัญต่อสุขภาพของคนที่ประกอบอาชีพดังกล่าว รวมทั้งคนในชุมชนที่อาจจะได้ได้รับสารพิษที่ปนเปื้อนการขั้นตอนกระบวนการผลิตตั้งแต่การหลอมทองการนำทองที่หลอมแล้ว ไปตีให้เป็นแผ่นบางลงไปอีก หรือหากเป็นแท่งเหลี่ยมเล็ก ก็ตีให้มีขนาดเล็กลงไปอีก เพื่อความสะดวกในการนำไปขึ้นรูป แกะลวดลาย ฉลุ หรือรีดเป็นเส้น โดยขั้นตอนเหล่านี้โอกาสที่ผู้ที่ทำงานจะสัมผัส สูดดมควันของสารพิษได้โดยง่าย และก่อให้เกิดโรคจากแอสเบสตอส(ใยหิน) หรือโรคมะเร็งที่ เกิดจากแอสเบสตอส อันตรายของแอสเบสตอสอยู่ที่เส้นใย เส้นใยของแร่ใยหินมีขนาดเล็กมาก มี อัตราส่วนความยาวต่อความกว้างเท่ากับ3:1เมื่อหายใจรับเส้นใยเข้าสู่ปอด เส้นใยจะสะสมและคงอยู่ในเนื้อเยื่อปอดตลอดไป ส่งผลกระทบต่อสุขภาพคนที่ประกอบอาชีพและคนในชุมชน

ทีมสื่อ กขป.เขต 2 .เพชรบูรณ์-รายงาน




 3 พฤษภาคม 2566