ไทยเดินหน้าร่วมมือกับ 5 ประเทศ ขับเคลื่อน 'การมีส่วนร่วมของสังคม' เข้าสู่ 'สมัชชาอนามัยโลก' ปีหน้า หนุนบทบาทภาคประชาชนทั่วโลก
14 มิถุนายน 2566
! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมกับ 5 ประเทศ ประกอบด้วย สโลวาเนีย นอร์เวย์ ตูนีเซีย มาดากัสการ์ บราซิล และอีก 3 เครือข่ายนานาชาติ UHC2030, CSEM and UHC Partnership เป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมคู่ขนานขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของสังคม หัวข้อ Institutionalizing Social Participation for UHC, PHC and Health Security ในวันที่ 22 พฤษภาคม .. 2566 ในช่วงการประชุมสมัชชาอนามัยโลก สมัยที่ 76 นครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์


กิจกรรมคู่ขนานนี้ได้รับเกียรติจากรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข 4 ประเทศ ได้แก่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และประธานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ Ms Ingvild Kjerkol รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสุขภาพและบริการ (Minister of Health & Care Services) ประเทศนอร์เวย์ Dr Nísia Verônica Trindade Lima รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสุขภาพ ประเทศบราซิล Professor Zely Arivelo Randriamanantany รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประเทศมาดากัสการ์ เข้าร่วมงานและแสดงเจตนารมณ์ในการเคลื่อนเรื่องการพัฒนาการมีส่วนร่วมของสังคมอย่างเป็นระบบและยั่งยืน เป็นวาระในการประชุมสมัชชาอนามัยโลกปีหน้า


นายอนุทิน กล่าวผ่านวิดีโอคลิปว่า สาธารณสุขมูลฐานถือเป็นอิฐก้อนแรกในการวางรากฐานเรื่องการมีส่วนร่วมให้กับสังคมไทย การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในระบบสุขภาพของประเทศไทยมีความมั่นคงและยั่งยืนได้ เพราะปัจจัยสนับสนุน 3 ประการคือ 1. มีพื้นที่กลางที่ในการปรึกษาหารือกัน ที่จัดขึ้นเป็นประจำอย่างเป็นระบบ เช่น สมัชชาสุขภาพ 2. มีการลงทุนทั้งทรัพยากรบุคคล และงบประมาณ เช่น อสม. กองทุนสุขภาพตำบล และกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ  3. มีกฎหมายส่งเสริมการมีส่วนร่วมในระบบสุขภาพ ได้แก่ ...สุขภาพแห่งชาติ 


นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ กรรมการบริหาร สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวในงานว่า รัฐบาลนั้นเล็กเกินไปที่จะแก้ปัญหาที่ใหญ่และซับซ้อน แต่ก็ใหญ่เกินไปที่จะแก้ปัญหาเล็ก ดังนั้น พลังของสังคมจะเข้ามาช่วยพัฒนาประเทศในหลายๆ ด้าน

ดร.วีระศักดิ์ พุทธาศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ วิทยากรในช่วงเสวนา ยกตัวอย่างให้นานาชาติฟังถึง เครื่องมือที่ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคประชาชนอย่างสมานฉันท์ในประเทศไทย คือ สมัชชาสุขภาพและธรรมนูญสุขภาพ 


นอกจากนั้น ดร.วีระศักดิ์ ได้หยิบยกประเด็นน่าสนใจจากการจัดรับฟังความคิดเห็นเรื่องการมีส่วนร่วมของสังคม ที่ สช. และเครือข่ายได้ช่วยกันจัดไปเมื่อ 18 .. ที่ผ่านมาว่า ที่ประชุมซึ่งมีทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน ภาควิชาการ และเยาวชนเห็นว่า เจ้าหน้าที่รัฐควรมีทักษะในการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ควบคู่กับทักษะด้านวิชาการวิชาชีพของตน และเน้นว่าการติดตามประเมินการมีส่วนร่วมของสังคมเป็นประเด็นสำคัญ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่มีการพัฒนากรอบติดตามประเมินเท่านั้น แต่ต้องยกระดับให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการติดตามประเมินการมีส่วนร่วมด้วย 


Ms Christina Williams ผู้แทนจากสภาเยาวชน ซึ่งจัดตั้งโดยองค์การอนามัยโลก กล่าวเรียกร้องให้เด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในเวทีระดับโลกและระดับชาติมากขึ้น และควรเชิญกลุ่มที่หลากหลายมาเข้าร่วม คุณคริสตินายังเสนอให้รัฐบาลมีแผนพัฒนาศักยภาพให้กับเด็กและเยาวชน เพื่อให้เขาเป็นตัวแทนของเยาวชนในการนำเสนอความคิดของพวกเขาต่อรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของหลายประเทศรวมทั้งของประเทศไทยเองที่มุ่งมั่นจะสร้างการมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่ในกระบวนนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน

------------------------------

หมายเหตุเผยแพร่ครั้งแรกในนิตยสาร "สานพลังฉบับเดือนมิถุนายน 2566