เมื่อดอยอินทนนท์ ป่วยหนัก อนาคตคือ?

! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

ดอยอินทนนท์ ป่วยหนัก อนาคตคือ? เดินหน้าเชิญภาคีร่วมแก้ไขวิกฤตป่าและน้ำ

เมื่อวันที่ 8-9 มิถุนายน 2566 ณ ห้องประชุมไทรทอง และศูนย์การเรียนรู้โครงการพื้นที่ต้นแบบดอยอินทนนท์  (อินทนนท์โมเดล) ซึ่งตั้งอยู่ที่อาคารอ่างกาหลวง โรงเรียนจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ 

คลิปวีดีโอข่าว


โครงการพื้นที่ต้นแบบดอยอินทนนท์ (อินทนนท์โมเดล) ร่วมกับสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ และสมาคมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจอมทอง ได้จัดการอบรมสัมมนาผู้นำชุมชน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า อุทกภัยและดินโคลนถล่มและภัยแล้ง รุ่นที่ 1 ให้กับผู้นำชุมชนตำบลข่วงเปา อ.จอมทอง ซึ่งประกอบด้วย กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เจ้าหน้าที่อบต. สารวัตรกำนัน และผู้นำธรรมชาติ รวม 60 คน


ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องระบบนิเวศป่าต้นน้ำ วงจรการกำเนิดน้ำ สภาพปัญหาของดอยอินทนนท์ แนวทางแก้ไขที่เป็นรูปธรรม พร้อมออกภาคสนามศึกษาดูงานในพื้นที่จริง ทั้งนี้เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจถูกที่เป็นวิทยาศาสตร์ในเรื่องกลไกระบบนิเวศธรรมชาติของระบบนิเวศป่าต้นน้ำในการกักเก็บน้ำฝนไว้บนภูเขาและระบายน้ำสู่ลำห้วยลำธารอย่างสม่ำเสมอตลอดปี เพื่อนำไปสู่การร่วมกันการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าต้นน้ำและป่าไม้ของดอยอินทนนท์ในพื้นที่อ.จอมทอง ให้กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง



โครงการอินทนนท์โมเดล มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน ปัญหาการขาดแคลนน้ำ ภัยแล้ง ปัญหา น้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม แก้ไขปัญหาพืชเชิงเดี่ยว บนพื้นที่ป่าต้นน้ำของดอยอินทนนท์  และฟื้นฟูป่าต้นน้ำของดอยอินทนนท์ให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ พื้นที่โครงการครอบคลุมลุ่มน้ำสาขาแม่กลาง และลุ่มน้ำสาขาแม่แจ่มตอนล่าง(บางส่วน) ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ป่าสงวนแห่งชาติป่าจอมทองและป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แจ่ม รวมไปถึง เสริมสร้างความรักความสามัคคีของชุมชนบนดอยและชุมชนโดยรอบดอยอินทนนท์โดยการบริหารจัดการน้ำที่เป็นธรรมสำหรับชุมชนทุกกลุ่มในพื้นที่โครงการ  และเป็นรักษาดอยอินทนนท์ให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์และมีความสวยงามโดดเด่นของประเทศ



พื้นที่โครงการฯ  ดำเนินการในขอบเขตของพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาแม่กลางและลุ่มน้ำสาขาแม่แจ่มตอนล่าง(บางส่วน)  เนื้อที่ประมาณ  300,000-400,000 ไร่  ดังนี้ 



1.  ลุ่มน้ำแม่กลาง ครอบคลุม 4 ตำบล ได้แก่  ตำบลข่วงเปา ตำบลบ้านหลวง ตำบลดอยแก้ว และ ตำบลสบเตี๊ยะ ของอำเภอจอมทอง2. ลุ่มน้ำแม่แจ่ม ครอบคลุม 3 ตำบล ได้แก่  ตำบลช่างเคิ่ง  ตำบลท่าผา และ ตำบลกองแขก ของอำเภอแม่แจ่มโดยครอบคลุมพื้นที่ของ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)  จำนวน 8 แห่ง ใน 2 อำเภอ (อำเภอจอมทอง 5 อปท. และอำเภอแม่แจ่ม 3 อปท. พื้นที่ดังกล่าวส่วนใหญ่อยู่เขตในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ป่าสงวนแห่งชาติป่าจอมทองและป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แจ่ม 



โดยกิจกรรมในภาคเช้า ได้มีพิธีเปิดการอบรมสัมมนา ต่อมาในภาควิชาการได้มีการอบรมให้ความรู้ในภาพรวมของโครงการพื้นที่ต้นแบบดอยอินทนนท์(อินทนนท์โมเดล) จนถึงสภาพปัญหาของดอยอินทนนท์ในปัจจุบัน ซึ่งในภาคบ่าย คณะผู้เข้าอบรมได้เดินทาง ขึ้นไปร่วมกิจกรรมบนดอยอินทนนท์ ณ หน่วยจัดการต้นน้ำแม่อวม(กม.34) เพื่อศึกษาดูงานตาน้ำ/ขุนน้ำและน้ำซับ ศึกษาเส้นทางธรรมชาติอ่างกาหลวง เพลงจากนั้นเดินทางไปดูสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินบนดอยอินทนนท์ในพื้นที่จริง บริเวณดอยหัวเสือและสภาำป่าหัวน้ำหัวปูลิง รวมถึงศึกษาแนวทางในการป้องกันไฟป่า อุทกภัยดินโคลนถล่มและภัยแล้ง จากนั้นผู้ร่วมการอบรมสัมมนาจะถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น


ดอยอินทนนท์ ถือเป็นยอดเขาสูงที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่  เดิมมีชื่อว่า "ดอยหลวง" หรือ "ดอยหลวงอ่างกา" สภาพภูมิประเทศทั่วไปประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน มีภูมิอากาศหนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีพืชพรรณไม้และสัตว์ป่านานาชนิด มีความหลากหลายทางชีวภาพ สภาพป่า เป็นป่าดิบเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง มีพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่หล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมและเป็นแหล่งน้ำเพื่อการบริโภคอุปโภคของประชากรของอำเภอจอมทอง



จากสถานการณ์ไฟไหม้ป่าจังหวัดเชียงใหม่ปี 2566 นับว่ารุนแรงและผิดปกติอย่างยิ่ง ฝุ่นควันจากไฟป่าดังกล่าวเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้จังหวัดเชียงใหม่ประสบปัญหาค่าฝุ่นควันเกินมาตรฐานมาอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดมลพิษในอากาศอย่างรุนแรง โดยค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) มีค่าสูง มีผลกระทบต่อสุขภาพและสุขภาวะของประชาชนเป็นอย่างยิ่ง จึงได้มีการรระดมสรรพกำลัง ภาคีเครือข่ายและทรัพยากรทั้งหลาย เพื่อให้เกิดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นควันอย่างต่อเนื่องและอย่างยั่งยืนในจังหวัดเชียงใหม่แบบบูรณาการจากทุกภาคส่วน และเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำท่วมดินโคลนถล่มที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝนนี้ ก่อนที่จะต้องเผชิญภัยแล้ง ในลำดับถัดต่อไป

 14 มิถุนายน 2566