การขับเคลื่อน สุขภาวะระยะท้าย ในช่วงบั้นปลายชีวิตของ 'พระสงฆ์' ข้อเสนอการดูแลก่อนมรณะภาพ ให้จากอย่างสงบ-ตามหลักธรรมวินัย
16 มิถุนายน 2566
! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

เกิดแก่เจ็บตายถือเป็นสัจธรรมที่เกิดขึ้นอย่างแน่แท้ของความเป็นมนุษย์ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใครก็ตาม สุขภาวะระยะท้ายของชีวิตและการตายดีในพระสงฆ์นับเป็นประเด็นความท้าทายอย่างหนึ่ง เนื่องจากปัจจุบันเป็นสังคมสูงวัยมีพระสงฆ์ที่ชราภาพเพิ่มมากขึ้น มีพระสงฆ์เป็นจำนวนมากที่ประสงค์จะมรณะภาพขณะยังเป็นพระสงฆ์ 

 

แต่ในความเป็นจริงไม่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากปัจจุบันวัดยังไม่มีศักยภาพในการดูแลพระสงฆ์ที่ชราภาพและต้องการมรณะภาพขณะยังเป็นพระสงฆ์ เมื่อถึงวัยชราภาพพระสงฆ์มีทางเลือก 2 ทาง คือ 1. สึกออกไปจากวัดและกลับบ้านไปให้ญาติดูแล 2. หากในวัดมีผู้ดูแลก็สามารถมรณภาพในเพศบรรพชิตได้ 

 

เมื่อสถานการณ์ในวัดเป็นเช่นนี้ จึงจำเป็นจะต้องมีการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาวะในระยะท้ายของชีวิตและการตายดีในพระสงฆ์ขึ้นเพื่อรองรับความท้าทายเหล่านี้

 

ในประเทศไทยนอกจากในโรงพยาบาลที่มีการก่อตั้งหออภิบาลพระสงฆ์อาพาธหรือสถานที่ดูแลพระสงฆ์อาพาธที่อยู่ในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิต ยังมีมีวัดหรือการดำเนินการของคณะสงฆ์หลายแห่งที่ได้สร้างพื้นที่ต้นแบบสำหรับการดูแลพระสงฆ์ที่อาพาธและอยู่ในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิต โดยวัดเหล่านี้จะมีการดูแลพระป่วยอาพาธ โดยพระสงฆ์และทีมจิตอาสา ตลอดจนบุคลากรด้านสุขภาพในพื้นที่

 

ตัวอย่างเช่น สันติภาวัน .สอยดาว .จันทบุรี  สำนักสงฆ์ป่ามะขาม .หนองสาหร่าย .ปากช่อง .นครราชสีมา วัดป่าโนนสะอาด (ศูนย์พุทธวิธีดูแลพระสงฆ์อาพาธและผู้ป่วยระยะสุดท้าย) .ท่าเยี่ยม .โชคชัย .นครราชสีมา วัดทับคล้อ (สวนพระโพธิสัตว์) .ทับคล้อ .ทับคล้อ .พิจิตร วัดท่าประชุม .เมือง .ขอนแก่น

 

วัดวัดบุญนารอบ .เมือง .นครศรีธรรมราช ได้พัฒนาโมเดล Temple Ward ดำเนินการโดยไม่ใช้งบประมาณของภาครัฐแต่มาจากการทำบุญของประชาชน ที่ได้มีการบริจาคสิ่งของอุปกรณ์ที่จำเป็นที่ต้องใช้ในการดูแลพระสงฆ์

 

หากต้องการพัฒนาระบบการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้ายของชีวิตและการตายดีในพระสงฆ์ให้ยั่งยืน ควรจะต้องทำเรื่องนี้ให้เป็นนโยบายของคณะสงฆ์ โดยมหาเถรสมาคมควรมีนโยบายให้หนึ่งจังหวัดในประเทศไทยมีวัดหรือสถานที่สำหรับดูแลพระสงฆ์อาพาธระยะท้ายของชีวิตอย่างน้อยหนึ่งแห่งเพื่อให้พระสงฆ์อาพาธในจังหวัดนั้นที่ต้องการมรณะภาพในเพศบรรพชิตได้รับการดูแลระยะสุดท้ายของชีวิตตามหลักธรรมวินัยและมรณะภาพในเพศบรรพิชตสมดังเจตนาของตนเอง ซึ่งถ้ามีระบบเช่นนนี้ทั่วประเทศจะทำให้เกิดแนวทางการดูแลพระสงฆ์ระยะท้ายที่มีคุณภาพ ถูกต้องตามหลักธรรมวินัยเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะในระยะท้ายของชีวิตและการมรณะภาพที่สงบให้แก่พระสงฆ์ทั่วประเทศ

------------------------------

หมายเหตุเผยแพร่ครั้งแรกในนิตยสาร "สานพลังฉบับเดือนมิถุนายน 2566