สช.ผนึกภาคีวิชาการภาคอีสาน หนุนเสริมกลไก 'HIA' กลุ่มท้องถิ่น ใช้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ พัฒนาสร้าง 'ความมั่นคงทางอาหาร'
22 มิถุนายน 2566
! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

สช.จับมือเครือข่ายวิชาการ HIA Consortium ภาคอีสาน สร้างความร่วมมืองานวิชาการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพเพื่อพัฒนากับท้องถิ่น


สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) นำโดย นายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และกลุ่มงานการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ เข้าร่วมหนุนเสริมกลไกเครือข่ายวิชาการ HIA Consortium ภาคอีสาน ในการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) เพื่อพัฒนานโยบายสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กรณีความมั่นคงทางอาหาร .คอนสาร .ชัยภูมิ เมื่อระหว่างวันที่ 18-19 มิ.. 2566


ทั้งนี้ มีกลไกเครือข่ายวิชาการ ภาคอีสาน จาก 4 หน่วยงาน นำโดย .ดร.วงศา เล้าหศิริวงศ์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ และ ผศ.ดร.ฤทธิรงค์ จังโกฏิ (.ขอนแก่น) ผศ.ดร.วลัญช์ชยา เขตบำรุง และ .จิราภรณ์ ประธรรมโย (.วงษ์ชวลิตกุล) ดร.กัลยา หาญพิชาญชัย และ ..บุศรา ศรีวิชัย (.สารคาม) นายธนัญชัย วรรณสุข และ ดร.เอกสิทธิ์ อักษร (สนง.สิ่งแวดล้อมฯที่ 11 นครราชสีมา)


พร้อมกันนี้ได้มีการจัดประชุมชี้แจงโครงการ เพื่อสร้างความร่วมมือในการดําเนินงานทางวิชาการกับท้องถิ่น และได้ลงพื้นที่เรียนรู้วิถีชุมชน ซึ่งมีเครือข่ายในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็น กลุ่มหม่อนไหม กลุ่มคนคอนสาร สวนสำมะปิ ฟาร์มปูนาแสนสวย เจ้าหน้าที่จากเทศบาลตำบลห้วยยาง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ในพื้นที่ ร่วมแลกเปลี่ยนประเด็นความมั่นคงทางอาหารในมิติต่างๆ



สำหรับประเด็นที่มีการแลกเปลี่ยนไม่ว่าจะเป็น การส่งต่อความมั่นคงทางอาหารสู่คนรุ่นใหม่ จะปลูกฝังความสำนึกรักบ้านเกิด เห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนอย่างไร รวมถึงมิติความมั่นคงทางอาหารกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในชุมชน โดยจัดเวทีกลางน้ำผุดทัพลาวซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของคอนสาร


ขณะเดียวกันในวันที่ 19 มิ.. 2566 ยังมีการจัดเวทีแลกเปลี่ยน นำโดย นายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล ซึ่งได้แลกเปลี่ยนบทบาทของ อปท. กับการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพเพื่อความยั่งยืน ร่วมกับ .ดร.วงศา เล้าหศิริวงศ์ ที่ร่วมแลกเปลี่ยนในประเด็นแนวคิดการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ


ในส่วนของ นายธนัญชัย วรรณสุข ผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 11 นครราชสีมา ได้แลกเปลี่ยนในประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีผลต่อความมั่นคงทางอาหาร โดยมีผู้แทนจากพื้นที่ ทต.ห้วยยาง ทต.คอนสาร และ อบต.ดงบัง นําเสนอข้อมูลบริบทชุมชน ความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ และได้แลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะ รวมถึงข้อห่วงกังวลในประเด็นความมั่นคงทางอาหาร


นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายคนอินทรีย์ ผู้ใหญ่บ้านโนนจำปา กลุ่มหม่อนไหม กลุ่มคนคอนสาร สวนสำมะปิ ร่วมแลกเปลี่ยนในเวทีครั้งนี้ โดยในเวทีได้เห็นข้อห่วงกังวลร่วมกันไม่ว่าจะเป็น การใช้สารเคมีทางการเกษตร วิถีการเกษตรที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการบริหารจัดการต้นน้ำ และการส่งต่อความมั่งคงทางอาหารให้คนรุ่นใหม่ ตลอดจนการสร้างจิตสำนึกรักบ้านเกิด เห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งยังคงเป็นประเด็นที่มีความท้าทาย