สช.-มรภ.จันทรเกษม หารือจัดตั้ง 'ศูนย์วิชาการสุขภาวะเขตเมือง' ร่วมวางกิจกรรม-แนวทางทำงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนเข้มแข็ง
23 มิถุนายน 2566
! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

สช. เดินหน้าหารือแนวทางการจัดตั้งศูนย์วิชาการสุขภาวะเขตเมือง มุ่งสร้างชุมชนมีสุขภาวะที่ดี ผ่านการสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งในชุมชน


สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) โดยศูนย์ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะกรุงเทพมหานคร (ศนก.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จัดประชุมหารือแนวทางการจัดตั้งศูนย์วิชาการสุขภาวะเขตเมือง ห้องประชุมมานิจ ชุมสาย ชั้น 4 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม โดยมี ผศ.ดร.เอนก เทียนบูชา รองอธิการบดีรักษาราชการแทนคณบดีคณะเกษตรและชีวภาพ พร้อมทีมคณะอาจารย์ ร่วมวางแผนแนวทางการทำงานร่วมกันภายใต้โครงการฯ ปีที่ 1


ทั้งนี้ ในการประชุมได้มีการทบทวนสถานการณ์ และกิจกรรมในพื้นที่ 5 เขต ที่อยู่ภายใต้การดูแลของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม รวมถึงการสังเคราะห์ความเห็นในสองประเด็นหลัก ได้แก่ แนวทางการทำงาน/กิจกรรมภายใต้ศูนย์วิชาการฯ ในช่วงก่อนการจัดทำข้อตกลง และการกำหนดภาพรวมและความคาดหวังในระยะ 3-5 ปี ของศูนย์วิชาการฯ




ในส่วนของการหารือ ได้กำหนดวันเวลาเพื่อวางแผนการทำงานขับเคลื่อนในระยะเวลา 3 เดือนต่อจากนี้ โดยมีข้อเสนอให้ ศนก.สช. มีการจัดอบรม workshop ให้แก่คณะอาจารย์ เพื่อเข้าใจกองทุนฯ และหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุมัติโครงการฯ เพื่อช่วยให้ทีมอาจารย์สามารถนำข้อมูลและองค์ความรู้ที่ได้จากการอบรมไปถ่ายทอดแก่ชุมชนอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ


สำหรับภาพรวมการวางแผนการดำเนินงานภายใต้ศูนย์วิชาการสุขภาวะเขตเมือง ในระยะ 3-5 ปี จะเห็นความมุ่งมั่นของทีมงานมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ที่มุ่งมั่นที่จะสร้างความประโยชน์ในสองระดับ ได้แก่ ในระดับชุมชน ทางมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มุ่งหวังว่าชุมชนมีสุขภาวะที่ดีขึ้น ผ่านการสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งในชุมชน ด้วยการพัฒนากลุ่มจิตอาสาที่มีความเข้มแข็ง พัฒนาทักษะและความสามารถใหม่ๆ (re-skill/up-skill) เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการของกรุงเทพมหานคร (กทม.) และประเทศ


ขณะที่ในระดับศูนย์วิชาการ มีความมุ่งหวังเป็นศูนย์รวมงานวิจัยและนวัตกรรมที่ส่งเสริมสุขภาวะเมือง ทั้งยังทำหน้าที่สำคัญในการพัฒนาฐานข้อมูลทางวิชาการ สามารถเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำ รวมถึงเสนอนโยบาย ชี้นำสู่การบริหารจัดการสุขภาพในอนาคต โดยอาศัยข้อมูลและข้อเท็จจริงจากการวิจัยและฐานข้อมูลวิชาการ