‘ศูนย์วิชาการสุขภาวะเขตเมือง’ ดอกผลจากกระบวนการ ‘สานพลัง’ กลไกเชื่อมปัญหา ‘ระดับเขต’ เมืองกรุง เข้ากับกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ
27 มิถุนายน 2566
! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

กำลังจะมีเรื่องดีๆ เกิดขึ้น เกาะรัตนโกสินทร์’ ….

 

หากพูดถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตคนเมืองหลายคนอาจส่ายหน้าและมองว่าเป็นเรื่องยากแสนสาหัส

 

นั่นเพราะชุมชนเมืองเต็มไปด้วยความสลับซับซ้อนและแตกต่าง การแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่ง จำเป็นต้องอาศัยความร่วมไม้ร่วมมือทั้งองคาพยพ

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากโฟกัสที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) เมืองฟ้าอมรที่ไม่เคยเป็นมิตรกับกลุ่มคนเปราะบางได้เลยแม้แต่น้อย

 

เมื่อพูดถึง กทม. ภาพจำที่เกิดขึ้นทันทีคือรถติด ท้องถนนเนืองแน่นและคราคร่ำไปด้วยยานพาหนะ ทางเท้าผุพัง ไปจนถึงมิติสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ ที่ล้วนแล้วแต่ยังมีปัญหารอการแก้ไข

 

แม้ว่าผู้ว่าราชการ กทม. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ จะทำงาน ทำงาน ทำงาน เพื่อคลี่คลายปัญหาเดิม หากแต่ปัญหาใหม่ๆ ก็ยังเกิดขึ้นอยู่เสมอ และแน่นอนว่า การรอคอยให้ผู้ว่าฯ เข้ามาช่วยแก้ปัญหาอาจไม่ทันกาล ดังนั้นสมาชิกทุกคนใน กทม. ควรมีส่วนช่วย

 

ลึกลงไปในรายละเอียด พบว่าหน่วยย่อยของ กทม. คือสำนักงานเขต และในทุกๆ เขต มีหน่วยย่อยลงไปอีกนั่นคือชุมชน

 

หากเริ่มต้นที่ชุมชน และไล่ย้อนกลับขึ้นมาเรื่อยๆ เชื่อว่าปัญหาจะได้รับการแก้ไขอย่างถูกที่ถูกทาง และยั่งยืนกว่าถูกกำหนดมาจากส่วนกลาง

 

การเปิดพื้นที่กลางและจัดกระบวนการ เพื่อให้คนในชุมชนลุกขึ้นมาออกแบบอนาคตของตัวเอง คือสิ่งที่ถูกควร

 

การสานพลังชุมชน เข้ากับหน่วยงานรัฐ-เอกชน รวมถึงภาควิชาการในแต่ละเขต คือสิ่งที่จำเป็นต้องทำ ซึ่งขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) กำลังเดินหน้าเต็มกำลัง และเริ่มออกดอกออกผลมาบ้างแล้ว

 

หนึ่งในนั้นคือการเกิดขึ้นของเครื่องมือภายใต้ ...สุขภาพแห่งชาติ .. 2550 อย่าง ธรรมนูญสุขภาพระดับเขตในพื้นที่ กทม.’ หรือ ข้อตกลงร่วมระดับเขตในพื้นที่ กทม. ซึ่งจะนำไปใช้แก้ไขปัญหาและคลี่คลายความขัดแย้งด้วยกระบวนการการมีส่วนร่วม เป็นเครื่องมือสนับสนุนให้เกิดสัญญาใจที่นำไปสู่แนวปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่

 

เช่น บางพื้นที่พูดเรื่องหาบเร่แผงลอยก็อาจมีข้อตกลงร่วมกันในการใช้พื้นที่สาธารณะ หากมีการละเมิดข้อตกลงก็อาจมีบทลงโทษทางสังคมที่ทุกฝ่ายยอมรับร่วมกัน 

 

ปัจจุบัน กทม.มีธรรมนูญฯ ในพื้นที่นำร่องใน กทม. รวมทั้งสิ้น 13 เขต ประกอบด้วย ดินแดง วังทองหลาง บางคอแหลม สายไหม ดอนเมือง ลาดพร้าว บึงกุ่ม ลาดกระบัง ธนบุรี คลองสานบางบอน ทุ่งครุ และทวีวัฒนา

 

ในอนาคตอันใกล้นี้ สช.จะสานพลังภาคีเครือข่ายผลักดันให้เกิดธรรมนูญฯ เพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 10 เขต

 

อย่างไรก็ดี แม้การสร้างกติกาชุมชนในกรุงเทพฯ จะเกิดขึ้นไปบ้างแล้ว หากแต่ในขณะนี้ก็มีความพยายามที่จะยกระดับกลไกอื่นๆ ควบคู่กันเพื่อสนับสนุนการทำงานของธรรมนูญฯ ที่จะนำไปสู่การสร้างสุขภาวะดีให้เกิดขึ้นในแต่ละเขต

 

สช.จึงสานพลังกับภาควิชาการอย่างกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) กลุ่มรัตนโกสินทร์ จำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย 1. มรภ.จันทรเกษม 2. มรภ.ธนบุรี 3. มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา 4. มรภ.พระนคร และ 5. มรภ.สวนสุนันทา 

 

เป้าหมายของความร่วมมือครั้งนี้คือ การส่งเสริมองค์ความรู้จากภาควิชาการ และการจัดตั้ง ศูนย์วิชาการสุขภาวะเขตเมือง 

 

ภาควิชาการจะเข้ามาหนุนเสริมการขับเคลื่อนงานธรรมนูญสุขภาพระดับเขตของแต่ละชุมชน และได้เข้ามามีส่วนร่วมในการยกระดับคุณภาพชีวิต ซึ่งตรงกับเป้าหมายของสถานศึกษาที่ต้องการให้เป็นส่วนหนึ่งในสังคม และให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านต่างๆ ร่วมกับภาคีเครือข่ายอื่นๆ ด้วย

 

มากไปกว่านั้น ศูนย์วิชาการสุขภาวะเขตเมืองจะเข้ามาถ่ายทอดองค์ความรู้ ช่วยทำแผนการขับเคลื่อนงาน หรือการแนะนำในการทำข้อเสนอเพื่อขอรับงบประมาณในการขับเคลื่อนงาน โดยเฉพาะงบประมาณใน กองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร ที่พร้อมสนับสนุนภาคประชาชนในการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาวะ ซึ่งภาควิชาการจะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้กับชุมชนในเขตเมือง เพื่อให้สามารถเข้าถึงงบประมาณ และนำมาขับเคลื่อนงานในพื้นที่ 

 

ขณะเดียวกัน ศูนย์วิชาการสุขภาวะเขตเมืองจะร่วมกันผลักดันให้มีธรรมนูญสุขภาพระดับเขตเพิ่มขึ้นอีก 10 เขตเป็นอย่างน้อย ซึ่งหากสำเร็จจะทำให้กรุงเทพฯ มีกติกาชุมชนแต่ละเขตรวมกันแล้วมากกว่าครึ่งหนึ่งจากจำนวนทั้ง 50 เขต และจะทำให้ภาพรวมของสุขภาวะผู้คนดีขึ้น