สช.ผนึกภาคี เขตสุขภาพที่ 7 จัดเวที 'สร้างสุขที่ปลายทาง' ให้ความรู้ 'สุขภาวะระยะท้าย' แนะแนวการเขียน Living Will
7 กรกฎาคม 2566
! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

สช.สานพลังความร่วมมือเขตสุขภาพที่ 7 จัดเวทีสาธารณะให้ภาคประชาชน 4 จังหวัดอีสาน 'ขอนแก่น-ร้อยเอ็ด-สารคาม-กาฬสินธุ์' เข้าใจสิทธิตายดีตามมาตรา 12 และการดูแลประคับประคองเมื่อเข้าสู่ระยะสุดท้ายของชีวิต พร้อมแนะแนวการเขียนหนังสือ Living Will ก่อนถ่ายทอดต่อให้ครอบครัว-ชุมชน เห็นความสำคัญ


 เมื่อวันที่ 7 .. 2566 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกับเขตสุขภาพที่ 7 และสถานพยาบาลในพื้นที่ .ขอนแก่น จัดเวทีเสวนาและประชุมเชิงปฏิบัติการ งานสร้างสุขที่ปลายทาง วางแผนและเตรียมความพร้อมของชีวิตเพื่อสุขที่ปลายทาง โดยมีตัวแทนหน่วยงานภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงภาคประชาชนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และร้อยเอ็ด กว่า 300 คนเข้าร่วม

 

สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดงานดังกล่าว เพื่อให้ภาคประชาชนได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิด้านสุขภาพ โดยเฉพาะกับสิทธิในมาตรา 12 ของ ...สุขภาพแห่งชาติ .. 2550 ที่ให้สิทธิกับคนไทยแสดงเจตนาล่วงหน้าเมื่อถึงวาระสุดท้ายของชีวิตขอจากไปอย่างธรรมชาติ ไม่ต้องการยื้อความตาย หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย ผ่านการทำหนังสือแสดงเจตนา หรือ Living Will รวมไปถึงได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative care) ที่จะช่วยผู้ป่วยไม่ทุกข์ทรมาน เป็นการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิต



 

นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 7 เปิดเผยว่า ปัจจุบันสังคมไทยเป็นสังคมที่มีจำนวนผู้สูงอายุ และผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่อาจรักษาให้หายขาดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนในสังคม เช่น กลุ่มวัยแรงงานที่จำนวนลดลง ภาระในการดูแลผู้สูงอายุของลูกหลานจะเพิ่มขึ้น

 

นอกจากนี้ยังพบด้วยว่า งบประมาณสำหรับดูแลผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีการแพทย์ในปัจจุบันที่ช่วยยื้อความตายที่ทันสมัย แต่ขณะเดียวกันก็ไม่เกิดประโยชน์อันใดกับผู้ป่วยระยะท้าย อีกทั้งเทคโนโลยีที่ยื้อชีวิตเอาไว้อาจทำให้ผู้ป่วยระยะสุดท้ายทุกข์ทรมานมากขึ้น ทั้งที่เป็นโรคหรืออาการที่ไม่อาจรักษาให้หายขาดได้แล้ว ในขณะที่ระยะสุดท้ายก่อนเสียชีวิต ผู้ป่วยควรได้จากไปอย่างสงบและมีศักดิ์ศรี

 

ทุกคนต้องการให้ระยะสุดท้ายของชีวิต ได้รับการดูแลให้ปลอดจากความทรมานทั้งทางกาย จิตใจ แต่ทั้งนี้ก็ต้องเตรียมความพร้อมสำหรับตัวเองด้วยเช่นกัน แต่ความจริงสังคมไทยเตรียมการเรื่องการตายน้อยมาก ส่วนใหญ่ไม่อยากพูดถึง หรือมองเป็นเรื่องไกลตัว ทำให้ไม่เห็นความสำคัญของการวางแผนดูแลตัวเองเมื่อเข้าสู่ระยะสุดท้ายนพ.ธนรักษ์ กล่าว

 

นพ.ธนรักษ์ กล่าวอีกว่า ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญมากในการจัดเวทีสาธารณะ เปิดพื้นที่ทางสังคม ให้ภาคประชาชนเกิดการรับรู้เรื่องสิทธิด้านสุขภาพในการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิต เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักรู้ และส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้นำและผู้แทนในชุมชนพื้นที่เป้าหมาย มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสร้างสุขภาวะในระยะสุดท้ายของชีวิต และสามารถนำความรู้ไปสื่อสารส่งต่อให้กับประชาชนในชุมชน

 

นพ.วัชรพงษ์ รินทระ ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative care) เขตสุขภาพที่ 7 กล่าวว่า กิจกรรมนี้เป็นความร่วมมือของภาคีเครือข่าย เพื่อจัดเวทีสาธารณะที่เปิดพื้นที่ทางสังคมให้ภาคประชาชนได้เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องสิทธิด้านสุขภาพในการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิต เพื่อให้ทัศนคติที่ดีต่อการเตรียมตัวสำหรับวาระสุดท้ายของชีวิตในทุกมิติสู่การตายดี

 

ทั้งนี้ กิจกรรมสำคัญในงานจะมีการแนะนำการเขียนหนังสือ Living will ให้กับภาคประชาชน เพื่อให้ทำความเข้าใจและสามารถสื่อสารต่อไปยังครอบครัว ชุมชน เกี่ยวกับแนวทาง วิธี และวัตถุประสงค์ของการเขียนหนังสือ Living will เพื่อให้ภาพรวมในส่วนของภาคประชาชนในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 เกิดการรับรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติที่ดี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพในการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิต



 

ด้าน นายสุทธิพงษ์ วสุโสภาพล รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า สช. ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดเวทีสาธารณะนี้ขึ้นมา เพื่อให้ภาคประชาชนได้เตรียมความพร้อมของชีวิตไว้ล่วงหน้าเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนจะเสียชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา เป็นนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมในลักษณะให้สังคมดูแลกันและกัน

 

การวางแผนดูแลตัวเองล่วงหน้าเมื่อเข้าสู่ระยะสุดท้ายของชีวิต โดยเฉพาะการยื้อความตายโดยไม่จำเป็น อาจช่วยให้ไม่ทรมานจากการเจ็บป่วยของโรค หรืออาการที่ผู้ป่วยระยะท้ายต้องเผชิญ และเราได้ชวนภาคีเครือข่ายในเขตสุขภาพพื้นที่ 7 มาทำความเข้าใจร่วมกัน เรียนรู้แลกเปลี่ยน และมองช่วงชีวิตปลายทางของตัวเองว่าจะมีระบบดูแลอย่างไรให้มีสุขภาวะที่ดีก่อนที่จะจากไป นอกจากนี้ยังได้มาร่วมฝึกเขียนหนังสือ Living will ที่เป็นการแสดงเจตนาที่ไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขในระยะสุดท้าย แต่จะได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากกว่า สิ่งต่างๆ เหล่านี้ภาคประชาชนจะได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ ในเวทีนายสุทธิพงษ์ กล่าว

 

ในส่วนของผู้เข้าร่วมเวทีครั้งนี้ยังประกอบด้วย นายสุทธินันท์ บุญมี ประธานคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 7, พญ.ศรีเวียง ไพโรจน์กุล นายกสมาคมบริบาลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแห่งประเทศไทย, พระหมอภูวัต ภูริวฑฺฒโน วัดท่าประชุม, นพ.นิยม บุญทัน ศูนย์การุณรักษ์โรงพยาบาลศรีนครินทร์ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)