‘สช.-สปสช.’ หนุนดูแลผู้ป่วยจิตเวช แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ ‘วัดห้วยพรหม’ ใช้ ‘พระ-วัด’ เป็นพื้นที่กลาง ให้ธรรมะนำทางผู้ป่วยคืนสังคม
10 กรกฎาคม 2566
! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

'สปสช.-สช.' ลงพื้นที่โคราชดูแนวทาง 'ชมรมส่งเสริมดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนโดยพระสงฆ์เป็นแกนนำ'  มีพระขับเคลื่อนให้วัดเป็นพื้นที่กลางดูแลผู้ป่วยจิตเวชต่อเนื่อง สร้างชุมชนให้ร่วมมือ พาผู้ป่วยคืนสู่สังคม 


ผศ.ดร.ทพ.วีระศักดิ์ พุทธาศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) พร้อมด้วยผู้บริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นำโดย ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการ สปสช. ผศ.ภญ.ยุพดี ศิริสินสุข รองเลขาธิการ และองค์กรภาคีเครือข่าย เข้าเยี่ยมชมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนงานดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนโดยมีวัดเป็นศูนย์กลางที่ดำเนินการโดยชมรมส่งเสริมดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนโดยพระสงฆ์เป็นแกนนำวัดห้วยพรหม.วังน้ำเขียว .นครราชสีมา

 

สำหรับการขับเคลื่อนของชมรมส่งเสริมดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนโดยพระสงฆ์เป็นแกนนำวัดห้วยพรหม เป็นการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนโดยมีพระสงฆ์และวัดเป็นพื้นที่กลางร่วมกับชุมชน เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการที่ดีขึ้น สามารถดูแลตัวเองได้ รวมไปถึงส่งเสริมให้มีอาชีพเพื่อดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี


  

 

พระครูประโชติสังฆกิจ เจ้าอาวาสวัดศิริมังคลาราม ในฐานะประธานชมรมส่งเสริมดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนโดยพระสงฆ์เป็นแกนนำวัดห้วยพรหม เปิดเผยว่า ชมรมฯ ขับเคลื่อนดูแลผู้ป่วยจิตเวชตั้งแต่ปี 2543 โดยร่วมกับโรงพยาบาลจิตเวช นครราชสีมาราชนครินทร์ ดำเนินโครงการ โดยขณะนี้มีผู้ป่วยจิตเวชลงทะเบียนดูแลโดยชมรมฯ กว่า 80 คน 

 

สำหรับปัญหาที่พบส่วนใหญ่คือ ค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วยจิตเวชที่ต้องเดินทางไปรับยาเพื่อให้อาการป่วยดีขึ้น โดยช่วงแรกชมรมฯ และวัดช่วยกันออกค่าใช้จ่ายให้กับผู้ป่วย แต่เมื่อมีการขับเคลื่อนและร่วมมือกันกับภาคชุมชนจึงเกิดเป็นผ้าป่าเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการไปรับยาของผู้ป่วย ขณะเดียวกันก็ยังมีการขับเคลื่อนเชิงรุกจากชุมชนที่ร่วมกับวัด ค้นหาผู้ป่วยที่ต้องการความช่วยเหลือควบคู่ไปด้วย 

 

นอกจากนี้ วัดยังเข้ามามีส่วนร่วมกับแต่ละชุมชน เพื่อให้เป็นพื้นที่กลางในการรักษาจิตวิญญาณของผู้ป่วยจิตเวช ผ่านกิจกรรมต่างๆ อาทิ ธรรมะ วงดนตรี รำวงกลองยาว จิตอาสาช่วยเหลืองานวัด เป็นการสร้างคุณค่าให้กับผู้ป่วย และทำให้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน รวมไปถึงมีการส่งเสริมอาชีพอีกด้วย 

 

ตั้งแต่ในอดีตวัดเป็นทั้งโรงพยาบาล โรงเรียน และศาล แต่ปัจจุบันสิ่งเหล่านี้ได้หายไป ทำให้วัดมีส่วนร่วมกับชุมชนน้อยลง พระสงฆ์กลายเป็นเพียงดอกไม้หน้าศพเพื่อแค่ตกแต่ง หรือสวดมนต์ทำพิธี สุดท้ายก็ถูกทิ้งไว้ ดังนั้น ชมรมนี้จะทำให้วัดได้ใกล้ชิดกับชุมชนมากขึ้น และเป็นสถานที่พึ่งของประชาชนอย่างที่ควรจะเป็นพระครูประโชติสังฆกิจ ระบุ



 

ผศ.ภญ.ยุพดี กล่าวว่า ชมรมส่งเสริมดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนโดยพระสงฆ์เป็นแกนนำ เป็นการเปิดโลกทัศน์ให้ทาง สปสช. ได้เห็นถึงความสำคัญของวัดต่อชุมชนในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช โดยสามารถทำให้เกิดเป็นระบบการดูแลผู้ป่วยโดยมีพระสงฆ์เป็นแกนนำ และให้วัดร่วมขับเคลื่อนให้ชุมชนและสังคมเห็นว่า ผู้ป่วยจิตเวชก็คือส่วนหนึ่งของสังคม 

 

ทั้งนี้ การดูแลผู้ป่วยจิตเวชโดยวัดและชุมชน จะช่วยให้ผู้ป่วยกลับมายืนในสังคมอย่างสมศักดิ์ศรี และไม่ถูกตีตราว่าเคยป่วยจิตเวช รวมถึงวัดยังส่งเสริมอาชีพให้กับผู้ป่วยอีกด้วย ทำให้ดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี 

 

อย่างไรก็ตาม สปสช.จะศึกษาแนวทางของชมรมฯ ที่ไม่ใช่บริการด้านสุขภาพจิตเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการดูแลต่อเนื่อง และยังทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพจิตของประชาชนอีกด้วย รวมไปถึง ส่งเสริมให้กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น (กปท.) มีส่วนร่วมคัดกรองผู้ป่วยจิตเวชเพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 



 

ผศ.ดร.ทพ.วีระศักดิ์ กล่าวว่า พระสงฆ์ และวัด เข้ามาหนุนเสริมระบบสุขภาพผู้ป่วยจิตเวช เพื่อให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นผ่านการดูแลอย่างมีส่วนร่วม เพราะผู้ป่วยจิตเวชจะไม่เหมือนกับผู้ป่วยทั่วไป เนื่องจากต้องได้รับการดูแลต่อเนื่อง ดังนั้นการที่วัดและพระสงฆ์เข้ามาร่วมดูแลผู้ป่วยในชุมชน ผ่านกิจกรรมต่างๆ จะนำไปสู่เป้าหมายส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และทำให้อาการดีขึ้น หรือหายดี เพื่อกลับไปอยู่ร่วมกันกับชุมชนได้อย่างเป็นปกติ

 

นอกจากนี้ วัดยังเป็นอีกหนึ่งจุดเชื่อมต่อกับชุมชน ให้เข้าใจเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยจิตเวช และยังช่วยให้ผู้ป่วยไม่ถูกตีตราบาป รวมไปถึงยังได้ดูแลสุขภาพจิตของผู้คนในชุมชน ทำให้วัดมีบทบาทและมีความใกล้ชิดกับชุมชนมากขึ้นในการดูแลสุขภาวะของผู้ป่วย 

 

"สช.เข้ามาสนับสนุนเพื่อให้เกิดภาคีเครือข่ายเหมือนกับชมรมฯ ได้ร่วมกันขับเคลื่อนดูแลสุขภาพจิตในชุมชนโดยมีวัดเป็นศูนย์กลาง และทำให้ชุมชนได้ร่วมขับเคลื่อนดูแลผู้ป่วยจิตเวช ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลต่อเนื่อง สามารถอยู่ได้อย่างสมศักดิ์ศรีและมีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมไปถึงเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน" รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าว

 

อนึ่ง การขับเคลื่อนงานดังกล่าวสอดรับกับธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติฉบับ ด้วย