‘เขตจตุจักร’ เปิดวงคุย 41 ชุมชน จัดทำ ‘กติกา’ การอยู่ร่วมกัน สร้าง 'ธรรมนูญสุขภาพระดับเขต' แก้ปัญหาพื้นที่ด้วยการมีส่วนร่วม
11 กรกฎาคม 2566
! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

กรุงเทพมหานคร (กทม.) เมืองฟ้าอมรที่เต็มไปด้วยโอกาสและความหลากหลาย ทว่าในอีกมุมหนึ่ง ก็หมักหมมไปด้วยปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน การแก้ไขปัญหาด้วยหน่วยงานรัฐเพียงอย่างเดียว ชัดเจนแล้วว่าไม่เพียงพอ

 

ทุกวันนี้ กทม. ถูกแบ่งออกเป็น 50 สำนักงานเขต โดยแต่ละเขตก็มีสภาพปัญหาแตกต่างกันไปตามบริบท อาทิ เขตที่ต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมขัง-รอการระบายเป็นประจำ เขตที่มีโรงงาน-บ่อขยะ ตั้งอยู่ ฯลฯ

 

ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้จับมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏจำนวน 5 แห่ง จัดกระบวนการเพื่อแก้ปัญหาตามรายละเอียดระหว่างบรรทัดของแต่ละเขต

 

สำหรับเครื่องมือที่นำมาคลี่คลายปัญหา สร้างความกลมเกลียว คือ ธรรมนูญสุขภาพ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีกฎหมายรองรับ นั่นคือ ...สุขภาพแห่งชาติ .. 2550 

 

หลักการสำคัญของธรรมนูญสุขภาพคือการสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมจากผู้คนในพื้นที่ เพื่อร่วมกันออกแบบกติกาการอยู่อาศัยในพื้นที่นั้นๆ ร่วมกัน

 

ในเฟส 1 ราวปี 2564 สช. ได้ร่วมกับ 5 มหาวิทยาลัยราชภัฏ จัดทำสิ่งที่เรียกว่าธรรมนูญระดับเขตพื้นที่สำเร็จไปแล้ว 12 เขต ประกอบด้วย เขตดินแดง วังทองหลาง บางคอแหลม สายไหม ดอนเมือง ลาดพร้าว บึงกุ่ม ลาดกระบัง ธนบุรี คลองสานบางบอน ทุ่งครุ และเขตทวีวัฒนา

 

ปัจจุบัน กำลังเดินหน้าเต็มกำลังเพื่อขับเคลื่อนธรรมนูญระดับเขตพื้นที่ ในเฟสที่ 2 โดยมุ่งหมายที่จะสร้างให้เกิดขึ้นอีก 10 เขต



 

หนึ่งในนั้นคือ เขตจตุจักร ซึ่งปัจจุบันได้เริ่มขยับใหญ่แล้ว และเมื่อวันที่ 6 .. 2566 ก็ได้มีการเปิดวงพูดคุยประชุมกันอย่างเป็นทางการขึ้น โดยมีผู้แทนจาก สช. ภาควิชาการจากศูนย์วิชาการสุขภาวะเขตเมือง ตลอดจนผู้บริหารสำนักงานเขตจตุจักร รวมไปถึงตัวแทนภาคประชาชน และตัวแทนชุมชนรวม 41 ชุมชน เข้าร่วม

 

สำหรับประเด็นสำคัญในวงพูดคุยภาคีเครือข่ายในเขตจตุจักรเป็นการสังเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการถึงปัญหาสุขภาวะของเขตจตุจักรจากทีมศูนย์วิชาการสุขภาวะเขตเมือง ซึ่งที่มีมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมเก็บข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงปัญหาต่างๆ ในพื้นที่ที่มีผลกระทบต่อชีวิต ทั้งมิติสุขภาพ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม 

 

ทั้งนี้พบว่า หลายชุมชนกังวลเรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่ผู้ป่วยเพิ่มขึ้น รวมถึงการดูแลผู้สูงอายุ ความปลอดภัยของที่อยู่อาศัย ปัญหาขยะในพื้นที่ และปัญหาสุขภาพจิต

 

..นิภาพร เอี่ยมเจริญ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม สำนักงานเขตจตุจักร บอกเล่ากับ สถานีข่าว Health Station” มองเห็นถึงประโยชน์ของธรรมนูญสุขภาพระดับเขต เพราะเป็นเครื่องมือที่ทำให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาต่างๆ ของพื้นที่ โดยเฉพาะกับปัญหาทุกมิติในเขตจตุจักรที่มีผลต่อสุขภาพของประชาชน 

 

..นิภาพร สะท้อนด้วยว่า สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดของก้าวแรกในการร่างธรรมนูญสุขภาพเขตจตุจักร คือความร่วมมือของภาคชุมชนทั้ง 41 ชุมชนที่เข้าร่วม โดยผู้นำชุมชนให้ความสนใจถึงกระบวนการมีส่วนร่วม และประโยชน์ของธรรมนูญสุขภาพ ขณะเดียวกัน ก็ยังมีภาควิชาการ จากศูนย์วิชาการสุขภาวะเขตเมือง โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ที่เข้ามาหนุนเสริมข้อมูลให้กับผู้นำชุมชน ได้ร่วมกันวิเคราะห์ถึงปัญหาจากข้อมูล ที่เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการระดมความคิดเห็นของภาคีเครือข่าย 

 

"วงพูดคุยเริ่มต้นด้วยการสะท้อนปัญหาต่างๆ และเห็นว่ามิติทางสังคมมีผลเชื่อมโยงมายังเรื่องสุขภาพ ซึ่งภาคีเครือข่ายยังร่วมกันคิดต่อว่า หากมีธรรมนูญสุขภาพเขตจตุจักรขึ้นมาแล้ว จะขับเคลื่อนต่ออย่างไรเพื่อให้ยั่งยืน" ..นิภาพร กล่าว



 

ด้าน นายจารึก ไชยรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับพื้นที่ สช. ที่เข้าร่วมวงพูดคุยครั้งนี้ด้วย ได้ให้ภาพผ่าน สถานีข่าว Health Station” ว่า สช.สนับสนุนให้ชุมชนในเขตเมืองได้มีกระบวนการมีส่วนร่วมในการสร้างกติกา หรือแนวทางการยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างมีส่วนร่วม และหนึ่งในกลไกนั่นคือการมีธรรมนูญสุขภาพระดับเขต ซึ่งเขตจตุจักรถือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่กำลังขับเคลื่อน

 

ทั้งนี้ ในเบื้องต้นมีการพูดคุยถึงปัญหาในพื้นที่ โดยมีข้อมูลสนับสนุนจากภาควิชาการคือ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ที่เข้ามาเสริมการขับเคลื่อนของเขตจตุจักร โดยเฉพาะการแนะนำแนวทางกระบวนการการมีส่วนร่วม รวมไปถึงทิศทางการขับเคลื่อนให้ต่อเนื่องหลังมีธรรมนูญสุขภาพระดับเขตไปแล้วด้วย 

 

"สช.พยายามหนุนเสริมให้ชุมชนแต่ละเขตในกรุงเทพฯ ได้มีธรรมนูญสุขภาพระดับเขตของตัวเอง เพื่อเป็นอีกเครื่องมือที่สามารถต่อยอดการขับเคลื่อนประเด็นต่างๆ อย่างมีส่วนร่วมในชุมชนผ่านการขอรับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ชุมชนยกระดับสุขภาวะอย่างยั่งยืนต่อไป" นายจารึก ย้ำตอนท้าย

 

จึงวางใจได้ว่า จากการทำงานแบบสานพลังภายใต้การเข้าไปหนุนเสริมของ สช. และ ศูนย์วิชาการสุขภาวะเขตเมือง จะช่วยให้ กทม. และชาวจตุจักรมีแผนการ มีกติกา และมีงบประมาณในการขับเคลื่อนสุขภาวะให้ดีขึ้นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง