คน 'โพประจักษ์' ร่วมสร้างนวัตกรรม พัฒนา ที่ครอบโคมไฟ ส่องสว่างถนน สางปมปัญหาผลผลิต 'ข้าวไม่ตั้งท้อง' ด้วยกลไกประเมินผลกระทบฯ 'HIA'
21 กรกฎาคม 2566
! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

ผู้สัญจรไปมาบนเส้นตัดถนนใจเพียร ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบล .ท่าช้าง .สิงห์บุรี อาจไม่ทราบว่า พื้นที่นาข้าวตลอดสองข้างทางนั้น ได้รับผลกระทบจากแสงไฟที่ส่องสว่างในเวลากลางคืน ทำให้ข้าวไม่ตั้งท้อง ได้ผลผลิตต่ำ     


ด้านหนึ่งแสงสว่างบนทางหลวงจำเป็นต่อผู้ใช้รถใช้ถนน  แต่อีกด้านหนึ่งพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ไวต่อแสงเมื่อได้รับแสงไฟในเวลากลางคืน แม้ลำต้นจะเจริญเติบโตเขียวขจี แต่ข้าวก็ไม่ยอมออกดอกออกรวง เมล็ดลีบเล็ก ไม่ได้ผลผลิตตามที่ต้องการ




เครื่องมือการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ หรือ HIA จึงเข้ามามีส่วนสำคัญในการหาทางออกทั้งการป้องกันอุบัติเหตุและลดผลกระทบของชาวนาในพื้นที่ โดยมีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้ามาสนับสนุนให้เกิดการรวมรวมข้อมูลสถานการณ์ วิเคราะห์ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม จนเกิดกระบวนการที่สร้างองค์ความรู้และแนวการปฏิบัติ เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย นายประชาญ มีสี แกนนำสมัชชาสุขภาพจังหวัดสิงห์บุรี เล่าให้ฟังถึงความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนของภาคีเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัด สภาองค์กรชุมชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาลัยเทคนิคสิงห์บุรี แห่งที่ 2  รวมถึงท้องที่ ท้องถิ่น  


รศ.ดร.สิริมา มงคลสัมฤทธิ์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาภายในเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 4 เข้าไปดำเนินการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพด้านการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ เพื่อพัฒนางานวิจัยสร้างองค์ความรู้ การพัฒนาเครือข่ายวิชาการ และประสานให้เกิดการพัฒนาประเด็นทางด้านการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมีองค์การบริหารส่วนตำบลโพประจักษ์ อำเภอท่าช้าง .สิงห์บุรี เข้าร่วมโครงการ




จากต้นทุนเดิมที่ธรรมศาสตร์ได้เคยลงไปทำการประเมินสำรวจจุดเสี่ยงด้านการใช้ถนนในพื้นที่จังหวัดสิงห์บุรี จนนำไปสู่การแก้ไขปัญหาด้านอุบัติเหตุทางถนนเป็นอย่างดี โดยการลงไปทำการประเมินผลกระทบทางสุขภาพในตำบลโพประจักษ์ในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากวิทยาลัยเทคนิคสิงห์บุรี แห่งที่ 2 และองค์การบริหารส่วนตำบลโพประจักษ์ ร่วมพัฒนาออกแบบตัวโคมและที่ครอบไฟ ติดบริเวณไหล่ทางว่าควรมีรูปแบบอย่างไร เพื่อลดแสงไฟไม่ให้กระจายไปในพื้นที่เพาะปลูกข้าว ลงมือทดลองและปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับใช้งานกับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ เป็นระยะทางกว่า 10 กิโลเมตร เบื้องต้นสามารถป้องกันแสงไฟได้ในระดับหนึ่ง


อบต.โพประจักษ์ได้ไปศึกษาบทเรียนการแก้ไขปัญหาแสงไฟบริเวณที่นาจาก .อ่างทองและพระนครศรีอยุธยา ในส่วนของทางธรรมศาสตร์ เข้าไปช่วยประเมินผลการใช้โคมไฟว่าอุปกรณ์ดังกล่าวว่า ใช้งานได้จริงหรือไม่ ถ้าใช้งานได้จริงก็จะนำไปสู่การจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ 




รศ.ดร.สิริมา กล่าวชื่นชมว่า ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากหลายภาคส่วน ในส่วนผู้นำท้องถิ่น คุณน้ำทิพย์ โตสงัด นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพประจักษ์ ให้ความสำคัญกับการนำความรู้ทางวิชาการไปใช้ปฏิบัติในพื้นที่ ส่งเสริมให้บุคลากรท้องถิ่นมีความรู้ด้านการประเมินผลกระทบทางสุขภาพและนำไปสู่การขับเคลื่อน ไม่ได้มองเครื่องมือนี้ในเชิงลบ แต่นำความรู้เหล่านี้ไปใช้ในการจัดการสภาพแวดล้อมของพื้นที่ รวมทั้งยังใช้ข้อมูล ต่อยอดพัฒนาแอปพลิเคชัน เพื่อการลดอุบัติเหตุในพื้นที่อีกด้วย 


การศึกษาข้อมูลสถานการณ์จากพื้นที่ เป็นขั้นตอนสำคัญที่นำไปสู่การตัดสินใจและวางแผนร่วมกันจากทุกภาคส่วน เป็นวิธีการที่ทำให้ภาคประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องที่ สถาบันการศึกษา อยากจะพัฒนาและรักษาคุณค่าการทำงานในพื้นที่ตนเอง และความยั่งยืนมากกว่าที่ธรรมศาสตร์ลงไปทำเองทั้งหมด และเมื่อเกิดการขยายต่อองค์ความรู้ ขยายพื้นที่การทำงานจากการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน ในที่สุดพื้นที่ก็จะทำงานเองได้ด้วยตนเองและสามารถไปประยุกต์ใช้กับประเด็นอื่นๆได้ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายการทำงานในระดับพื้นที่  รศ.ดร.สิริมา ระบุ


โพประจักษ์ โมเดล จึงเป็นพื้นที่หนึ่งที่สร้างต้นแบบในการพัฒนาประเด็นการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน เกิดการขับเคลื่อนเชิงปฏิบัติการร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างนวัตกรรมทั้งในเชิงกระบวนการที่บุคลากรจากหลายภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วม และสร้างนวัตกรรมด้านสิ่งประดิษฐ์ที่ตอบโจทย์การสร้างความปลอดภัยทางถนน และแก้ไขปัญหาผลผลิตข้าว ที่ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ร่วมกัน 

------------------------------

หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกในนิตยสาร "สานพลัง" ฉบับเดือนกรกฎาคม 2566