EP4 สามคอขวด สุขภาวะในอุบลฯ สถานีสื่อสุขภาวะ

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) หนุนเวทีเสวนาทางออนไลน์ผ่านเครือข่ายสื่อสุขภาวะ กขป.ทั่วประเทศ ทุกแพลตฟร์อมของ สช. และเฟสบุคส์ แฟนเพจ กขป.ทุกเขต นำเสนอประเด็นประเด็นสุขภาพในแต่ละพื้นที่เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตรงประเด็นเพื่อผลักดันสู่นโยบายด้านสุขภาพของประชาชนในภาพรวมของประเทศและแต่ละภูมิภาคอย่างยั่งยืน



รายการ “สถานีสื่อสุขภาวะ” ดำเนินรายการโดยนายสุชัย เจริญมุขยนันท ประจำวันที่ 16 สิงหาคม 2566 ภายใต้ประเด็น 3 คอขวด” โดยมีนพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ประธานคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 10  นายนพภา พันธุ์เพ็ง กรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 10  และ ดร.วิชิต พุ่มจันทร์ เลขานุการร่วมกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 10 ร่วมรายการ โดยแยกย่อย 3 เรื่องคือ 1.การบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำโขง ชี มูล 2.การใช้ยาสมเหตุผล RDU 3.การพัฒนาเด็กปฐมวัย

นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ เปิดประเด็นน้ำท่วม น้ำแล้ง ว่าเป็นปัญหาที่มีผลกระทบไปสู่โครงสร้างทั้งระบบ ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม ระบบสาธารณสุข ปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปรากฏการณ์เอลนิโญภาวะโลกร้อนนำไปสู่ปัญหาระบบนิเวศ เมื่อเกิดภัยพิบัติวิถีการดำรงอยู่ในสังคมก็วิกฤติ  ความมั่นคงทางอาหารก็ตามมา


ที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างยังสะเปะสะปะ ระบบการบริหารราชการแผ่นดินยังเป็นไปแบบต่างคนต่างทำงาน แต่ละกระทรวงถือกฎหมายคนละฉบับขาดการทำงานเชิงบูรณาการ ขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม ทั้งที่การบริหารจัดการน้ำมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึง 40 หน่วยงาน จาก 13 กระทรวงแต่ที่ผ่านมาการทำงานกระจัดกระจายไม่มีเจ้าภาพหลักจนนำสู่ความขัดแย้ง เช่นกรณีเขื่อนปากมู จากปัญหาดังกล่าวสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจึงได้ผลักดันเป็นแนวทางสู่เป้าหมายเพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะ

ในขณะที่นายนพภา พันธุ์เพ็ง เสริมว่า ปัญหาการบริหารน้ำ ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม ภัยแล้งควรเริ่มจุดประเด็นตั้งแต่ระดับพื้นที่แล้วยกระดับไปสู่ระดับประเทศ  ซึ่งมีสช.ขับเคลื่อน ไปสู่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ หรือ คสช. จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการทางการเมืองคือ คณะรัฐมนตรี(ครม.)

แต่เมื่อถึงมือครม.กลับเป็นได้แค่รับทราบ แต่ละกระทรวงกลับไม่มีการขับเคลื่อนอย่างจริงจัง ซึ่งนพ.นิรันดร์ ยืนยันเสริมว่าที่ผ่านมาเรื่องที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.)ส่งเรื่องถึงมือคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้รับการแก้ไขไม่ถึงครึ่ง นั่นหมายถึงประชาชนเสียโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตเท่าที่ควรจะเป็น

นายนพภา ย้ำว่าเรื่องการบริหารน้ำ กขป.10 ร่วมกับสช.และคมช.ได้ปรับแผนเพื่อผลักดดันให้ครม.เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนเพื่อรองรับนโยบายมีกฎหมายรองรับชัดเจน และหวังว่ากรณีนี้จะเป็นโมเดลให้คณะทำงานทั่วประเทศ ซึ่งนพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ ยืนยันกระบวนการที่จะขจัดคอขวด คือ 1.ต้องขับเคลื่อนเชิงนโยบาย 2.ต้องสร้างข้อมูล สร้างองค์ความรู้ 3. ผลักดันเป็นนโยบายสาธารณะ ทำนโยบายกินได้ โดยเอาพื้นที่เป็นตัวตั้ง

สำหรับประเด็นการใช้ยาสมเหตุผล ดร.วิชิต พุ่มจันทร์ กล่าวว่าในพื้นที่กขป.10 ซึ่งประกอบด้วย 5 จังหวัดอีสาน คืออุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และมุกดาหาร


 30 สิงหาคม 2566

ALL VIDEO