EP5 รวมทีมสานพลัง สังคมสูงวัยล้านนา สถานีสื่อสุขาภาวะ
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) หนุนเวทีเสวนาทางออนไลน์ผ่านเครือข่ายสื่อสุขภาวะ กขป.ทั่วประเทศ ทุกแพลตฟร์อม ของ สช. และเฟสบุคส์ แฟนเพจ กขป.ทุกเขต นำเสนอประเด็นประเด็นสุขภาพในแต่ละพื้นที่เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตรงประเด็นเพื่อผลักดันสู่นโยบายด้านสุขภาพของประชาชนในภาพรวมของประเทศ และแต่ละภูมิภาคอย่างยั่งยืน
รายการ “สถานีสื่อสุขภาวะ” ดำเนินรายการโดยนายสุชัย เจริญมุขยนันท ประจำวันที่ 23 สิงหาคม 2566 เสนอเรื่อง “รวมทีมสานพลัง สังคมสูงวัยล้านนา” โดยมีนางศิริพร ปัญญาเสน หัวหน้าหน่วยจัดการnodeflagship สสส.ลำปาง เลขานุการสมัชชาสุขภาพจังหวัดลำปาง และกรรมการ กขป., นายวีระยุทธ เทพนันท์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ เทศบาลตำบลแม่ข่า อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ แกนนำประเด็นสังคมสูงวัยภาคเหนือ เลขานุการเครือข่ายโรงเรียนผู้สูงอายุภาคเหนือ ร่วมรายการ
นางศิริพร ปัญญาเสน เล่าถึงการเกิดโรงเรียนผู้สูงอายุในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ ในเขตการดูแลของ กขป.1 ที่ดูแล 8 จังหวัด ( จ.เชียงราย น่าน พะเยา แพร่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน และ ลำปาง) ว่า เกิดจากการสร้างเครือข่ายในชุมชนจนเกิดความเข้มแข็ง โดยได้รับงบประมาณในการทำงานจาก สสส. สร้างเครือข่ายต่อยอดการขับเคลื่อนไปสู่ระดับจังหวัดโดยมีบทบาทในการกำหนดแผนยุทธศาสตร์จังหวัดร่วมกับคณะกรรมการระดับจังหวัดมาอย่างต่อเนื่อง
ในส่วนของ จ.ลำปาง นับเป็นพื้นที่ต้นแบบ ที่นำธรรมนูญสุขภาพผู้สูงอายุมาขับเคลื่อนจนเกิดพลังไปสู่เครือข่ายอื่นๆทั้งระดับชุมชน ตำบล และระดับจังหวัด ซึ่งนางศิริพร ปัญญาเสน ยืนยันว่า จ.ลำปางเป็นโหมดยุทธศาสตร์ล้านนา ยกระดับให้เป็นพื้นที่ต้นแบบระดับจังหวัด ระดับตำบล และระดับชุมชน
ในขณะที่นางศิริพร กล่าวสำทับว่าพื้นที่เปราะบางเหล่านี้ต้องใช้วิธีการทำงานที่ละเอียดอ่อน มีความเข้าใจวัฒนธรรม ระบบการทำงานต้องยืดหยุ่น และต้องใช้งบประมาณเป็นกรณีพิเศษด้วย เช่นงบฯเดินทางหากเป็นพื้นที่ปกติ 100 บาทแต่ถ้าเป็นพื้นที่พิเศษเหล่านี้ต้องใช้คนละ 200-300 ระยะทางเท่ากันแต่การเดินทางลำบาก เพราะฉะนั้นคนที่ทำงานกับเราต้องมีใจรักและจิตอาสาสูงด้วย
ส่วนการขับเคลื่อนเชิงประเด็นซึ่งแต่ละพื้นที่อาจมีประเด็นขับเคลื่อนเพื่อรองรับปัญหาผู้สูงวัยแตกต่างกันและวิธีการทำงานที่หลากหลาย แต่ทุกคนมีเป้าหมายเดียวกันคือ ผลักดัน 4 มิติให้เป็นจริงประกอบด้วย
1.การสร้างเสริมสุขภาพ
2.ด้านเศรษฐกิจ การครองชีพใช้ภูมิปัญญาสร้างเศรษฐกิจชุมชน
3. ที่อยู่อาศัยมั่นคง ปลอดภัย และ 4 สภาพแวดล้อมที่ดี พร้อมระบุว่าปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุส่วนใหญ่เกิดจากโรคไม่ติดต่ออันเกิดจากพฤติกรรมการกิน
ซึ่งคณะทำงานภาคีฯยืนยันจะเร่งการทำงานเชิงรุกเพื่อไม่ให้มีการเพิ่มจำนวนผู้ป่วยติดเตียง ที่จะเป็นภาระสังคมอีกต่อไป