EP8 เครือข่ายสร้างสุข

สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ(สช.)หนุนเวทีเสวนาทางออนไลน์ผ่านเครือข่ายสื่อสุขภาวะ กขป.ทั่วประเทศ ทุกแพลตฟร์อมของ สช. และเฟสบุคส์ แฟนเพจ กขป.ทุกเขต นำเสนอประเด็นประเด็นสุขภาพในแต่ละพื้นที่เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตรงประเด็นเพื่อผลักดันสู่นโยบายด้านสุขภาพของประชาชนในภาพรวมของประเทศ และแต่ละภูมิภาคอย่างยั่งยืน รายการ “สถานีสื่อสุขภาวะ” ดำเนินรายการโดยนายสุชัย เจริญมุขยนันท ประจำวันที่ 20 กันยายน 2566 เสนอเรื่อง “เครือข่ายสร้างสุข ”  โดยมี นายศิวโรฒ จิตนิยม รองประธานกขป.เขต 5 และนางเอมอร บุตรแสงดี นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ  หัวหน้ากลุ่มงานสาธารณสุขมูลฐานและสุขภาพภาคประชาชน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี ร่วมรายการ

นายศิวโรฒ จิตนิยม กล่าวเบื้องต้นว่า กขป.5 ประกอบด้วยจ.ราชบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์  ซึ่งมีปัญหาพื้นฐานด้านสาธารณสุข สุขภาพ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และอาหาร และปัญหาที่จะนำไปสู่ระบบสุขภาพของชุมชนที่ต้องตระหนักร่วมกันคือ ผู้สูงวัยที่นับวันจะมีตัวเลขสูง ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาเศรษฐกิจชุมชน ค่าใช้จ่ายจิปาถะที่จะตามมา สังคมผู้สูงวัยจึงเป็นประเด็นที่กขป.5 นำมาเป็นประเด็นขับเคลื่อนหลัก สอดคล้องกับ นางเอมอร บุตรแสงดี ที่ระบุว่าหลายปีที่ผ่านมา กขป.5 ยังตีวงกว้างจับหลายประเด็นเมื่อประเมินแล้วผลลัพธ์ไม่เป็นตามที่คาดหวังเนื่องจากตัวชี้วัดมีมาก และทำให้การทำงานยาก เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมาจึงเปลี่ยนแผนคัดเอาเฉพาะประเด็นหลักคือสังคมผู้สูงวัย กับเรื่องอาหารปลอดภัย มากำหนดแผนขับเคลื่อนแล้วเชื่อมระบบเครือข่ายมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกันอย่างเข้มข้นทำให้การทำงานมีเป้าชัดขึ้น

สอดคล้องกับนางเอมอร บุตรแสงดี ที่ระบุว่าหลายปีที่ผ่านมา กขป.5 ยังตีวงกว้างจับหลายประเด็นเมื่อประเมินแล้วผลลัพธ์ไม่เป็นตามที่คาดหวังเนื่องจากตัวชี้วัดมีมาก และทำให้การทำงานยาก เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมาจึงเปลี่ยนแผนคัดเอาเฉพาะประเด็นหลักคือสังคมผู้สูงวัย กับเรื่องอาหารปลอดภัย มากำหนดแผนขับเคลื่อนแล้วเชื่อมระบบเครือข่ายมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกันอย่างเข้มข้นทำให้การทำงานมีเป้าชัดขึ้นนายศิวโรฒ จิตนิยม ย้ำว่าการทำงานในระบบภาคีเครือข่ายที่วางรากฐานมาตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เพื่อส่งต่อไประดับจังหวัดต้องเกิดการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งก่อน เป็นการทำงานเพื่อวางเป้าหมายเพื่อให้บรรลุ 4 มิติ ทั้งมิติสังคม สุขภาพ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ ภายใต้กรอบสมัชชาสุขภาพจังหวัดที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน โดยไม่ได้คำนึงเพียงผู้สูงวัยแต่ต้องสร้างความตระหนักลงมาถึงระดับเยาวชน เพื่อเตรียมความพร้อมสู่สังคมสูงวัยในอนาคตด้วย

นางเอมอร บุตรแสงดี กล่าวเสริมว่า จุดเด่นที่ไม่เหมือนจังหวัดอื่นคือกาญจนบุรีได้ปรับชื่อสมัชชาสุขภาพจังหวัดกาญจนบุรี ที่เคยใช้ เป็นคำว่า “สมัชชาจังหวัดกาญจนบุรี” โดยตัดคำว่า “สุขภาพ”ออก ทั้งนี้เพื่อให้สมัชชาอื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับสุขภาพเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างสังคมเป็นสุข สร้างเครือข่ายให้เพิ่มมากขึ้น มิได้ตั้งข้อจำกัดเพียงเรื่องสุขภาพอย่างเดียวทำให้เกิดความหลากหลายทุกมิติของสังคม ซึ่งปัจจุบัน มีกว่า 30 เครือข่ายร่วมขับเคลื่อนแต่ละเครือข่ายก็มีคณะอนุกรรมการแต่ละประเด็นขับเคลื่อน ซึ่งล้วนมีความเข้มแข็งส่งผลให้ภาพรวมของชุมชนมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นตามลำดับ

สอดคล้องกับการให้ความร่วมมือในการสร้างฐานชุมชนให้เข้มแข็งในจุดเด่นของภาคธุรกิจที่เข้ามามีส่วนร่วมที่ นายศิวโรฒ จิตนิยม กล่าวถึงคือความร่วมมือของผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ซึ่งมีมากต่างออกมาช่วยเหลือชุมชนเป็นการคืนกำไรสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็เป็นผลมาจากการสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งและสร้างความเข้าใจสร้างการรับรู้ร่วมกัน ทั้งนี้ภายใต้การทำงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตจังหวัดกาญจนบุรี นายศิวโรฒ ยืนยัน และที่น่าสนใจ จ.กาญจนบุรี มีกลุ่มชาติพันธุ์ 14 กลุ่ม การทำงานของสมัชชาสุขภาพต้องให้ความสำคัญและสอดคล้องกับความต้องการให้ตรงกับวิถีวัฒนธรรมของแต่ละชาติพันธุ์ เปิดพื้นที่กลางให้ทุกกลุ่มชาติพันธุ์ได้แสดงออกในทุกกลุ่มวัยรวมถึงการให้โอกาสผู้สูงวัยในทุกมิติด้วย

ส่วนที่ยังเป็นอุปสรรคต่อทำงานคือยังขาดการมีส่วนร่วมที่ยังไม่ครอบคลุม รวมถึงฐานข้อมูลการทำงานเชิงประเด็นมีน้อย เช่น ฐานข้อมูลผู้ผลิตอาหารปลอดภัยไม่ค่อยมี อีกทั้งส่วนราชการก็ทำหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องของตนยังขาดการบูรณาการเท่าที่ควร


 4 ตุลาคม 2566

ALL VIDEO