EP9 กขป. เขต 6 ขับเคลื่อนสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา

สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ(สช.)หนุนเวทีเสวนาทางออนไลน์ผ่านเครือข่ายสื่อสุขภาวะ กขป.ทั่วประเทศ ทุกแพลตฟร์อมของ สช. และเฟสบุคส์ แฟนเพจ กขป.ทุกเขต นำเสนอประเด็นประเด็นสุขภาพในแต่ละพื้นที่เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตรงประเด็นเพื่อผลักดันสู่นโยบายด้านสุขภาพของประชาชนในภาพรวมของประเทศ และแต่ละภูมิภาคอย่างยั่งยืน รายการ “สถานีสื่อสุขภาวะ” ดำเนินรายการโดยนายสุชัย เจริญมุขยนันท ประจำวันที่ 27 กันยายน 2566 เสนอเรื่อง : “กขป. เขต 6 ขับเคลื่อนสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” โดยมี ดร.สมนึก จงมีวศิน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย EEC Watch และกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 6  นางสาววิชดา นฤวรพัฒน์ บรรณาธิการศูนย์สื่อสร้างสรรค์ ภาคตะวันออก และรองประธานกรรมการเขตสุขภาพ เพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 6

นายสมิทธิ์ เย็นสบาย ประธานคณะอนุกรรมการบูรณาการขับเคลื่อนประเด็นสิ่งแวดล้อมในคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 6 ร่วมรายการ ดร.สมนึก จงมีวศิน กล่าวว่าโดยส่วนตัวตนทำงานด้านฐานทรัพยากรควบคู่ไปกับกขป.6 มองว่าภาคตะวันออกอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีปัญหาความเหลื่อมล้ำระดับต้นๆของประเทศ การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมส่งผลกระทบกับระบบสังคมในชุมชนเกิดภาวะคนได้โอกาส กับผู้ด้อยโอกาส เกิดภาวะระบบสุขภาพที่ไม่เป็นธรรมซึ่งเป็นผลพวงจากแนวคิดนำนโยบายจากบนลงล่าง เห็นได้ชัดเมื่อคราวสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด เขตตะวันออกมีการติดเชื้อโควิดสูงเพราะส่วนใหญ่เป็นพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม มีแรงงานมาก การเข้าถึงบริการการแพทย์มีปัญหา การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมส่งผลกระทบกับระบบสังคมในชุมชนเกิดภาวะคนได้โอกาส กับผู้ด้อยโอกาส เกิดภาวะระบบสุขภาพที่ไม่เป็นธรรมซึ่งเป็นผลพวงจากแนวคิดนำนโยบายจากบนลงล่าง เห็นได้ชัดเมื่อคราวสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาด เขตตะวันออกมีการติดเชื้อโควิดสูงเพราะส่วนใหญ่เป็นพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม มีแรงงานมาก การเข้าถึงบริการการแพทย์มีปัญหา

เมื่อประชาชนเข้าไม่ถึงต้องไปพึ่งภาคประชาสังคมเมื่อภาคประชาสังคมมีบทบาทกลับถูกภาครัฐตำหนิว่าทำให้เสียภาพลักษณ์ระบบสาธารณสุข กลายเป็นภาครัฐกับภาคประชาสังคมทำงานไม่ลงรอยเกิดปีนเกลียว เมื่อผ่านพ้นภัยโควิด-19 ปัญหาสิ่งแวดล้อมก็ตามมา เช่น น้ำมันรั่วในทะเล ส่วนประเด็นอาหารปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหาร ดร.สมนึก จงมีวศิน มองว่าพื้นที่ตะวันออก เช่น จ.ชลบุรี ระยอง พื้นที่อุตสาหกรรมที่มาแย่งพื้นที่การเกษตร เกิดการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ แย่งชิงน้ำจืด เกิดความขัดแย้งในพื้นที่ ซึ่งต้องสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ได้รับผลกระทบ

ส่วนมุมมองกขป.ตนมองว่าต้นทางดีแต่กระบวนการปลายทางแย่งกันทำผลงาน อยากได้ผลงานแต่ไม่ร่วมกระบวนการ ซึ่งตนมองว่ากระบวนการทำงานสำคัญกว่าผลลัพธ์ เพราะถ้าไปแข่งกันเอาผลงานตนมองว่าไปไม่รอด ในขณะที่นายสมิทธิ์ เย็นสบาย ย้ำว่ากขป.ออกแบบมาดีมาก แต่ที่ผ่านมากลไกการทำงานที่เชื่อมจากจังหวัดไปสู่ระดับตำบล หมู่บ้านยังต่อไม่ติด ขาดความต่อเนื่อง ส่วนนางสาววิชดา นฤวรพัฒน์ มองว่าข้าราชการกับภาคประชาสังคมมีวัฒนธรรมการทำงานคนละแบบ ภาครัฐยังยึดติดกับระบบสั่งการ แต่หัวใจคือทำอย่างไรที่กระจายนโยบายลงพื้นที่ให้มากที่สุดให้ประชาชนมีส่วนร่วมเข้ามามีบทบาทในการกำหนดคุณภาพชีวิตของชุมชนตนเองมากที่สุด สอดคล้องกับความเห็นของดร.สมนึก จงมีวศิน ที่มองว่ารัฐทำงานแนวดิ่งนำนโยบายจากข้างบนลงล่างซึ่งทำไม่สำเร็จ ควรที่จะต้องขับเคลื่อนจากข้างล่างขั้นข้างบน พร้อมนี้ได้ยกตัวอย่างกระบวนการการทำงานธรรมนูญสุขภาพสากลเมืองพัทยาที่คิดนโยบายจากข้างบนลงมาข้างล่างแต่ไม่รอดต้องเปลี่ยนแผน มาใช้กระบวนการมีส่วนร่วมให้ชุมชนเข้ามาร่วมกำหนดมองภาพอนาคตและร่วมชะตากรรม แล้วมากำหนดแผนนำมาสู่ 6 มติ คือ เป็นเมืองเจริญเติบโตแต่ไม่แออัด,มีความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน,ได้เงินจากการขายธรรมชาติ,มีบริการสาธารณะครอบคลุมพื้นที่,มีมหาวิทยาลัยเมืองพัทยา และส่งเสริมวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์

ซึ่งใช้กระบวนการแนวเดียวกันกับธรรมนูญเกาะล้านที่มีปัญหาขยและมีความพยายามที่จะให้เมืองพัทยาเป็นต้นแบบพัทยาโมเดล ดร.สมนึก กล่าว และย้ำว่าการทำงานร่วมกันทุกฝ่ายต้องจริงใจถอดหมวกมาเป็นพลเมืองระนาบเดียวกัน นางสาววิชดา นฤวรพัฒน์ มองว่าธรรมนูญสุขภาพฉบับนี้ยังเป็นอุดมคติยังไม่มีใครทำจริง พร้อมกระตุ้นหากอยากเห็นคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนประชาชนต้องตื่นรู้ตระหนักถึงสิทธิและรักษาสิทธิขั้นพื้นฐานอันเป็นอำนาจพลเมือง ในขณะที่ดร.สมนึก กล่าวเสริมว่าทุกคนต้องเข้าถึงระบบบริการสุขภาพของรัฐอย่างเท่าเทียม รัฐเป็นหัวใจที่จะเปิดก๊อกเป็นช่องทางกระจายอำนาจให้ประชาชนและเอกชนได้ทำงานจริง ส่วนเรื่องอาหารปลอดภัย น.ส.วิชดา ระบุว่าตะวันออกเป็นเมืองผลไม้ และอยากเห็นตะวันออกเป็นเกษตรอินทรีย์ เพื่อสร้างความมั่นใจทางอาหาร โดยยกผลงานการสร้างองค์ความรู้สร้างเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อตรวจสอบสารปนเปื้อน โดยมีวาระอาหารปลอดภัยภาคตะวันออก โดยเริ่มที่จ.ชลบุรี โดยยกให้เป็นครัวตะวันออกและคาดหวังที่จะขยายให้ครอบคลุมภาคตะวันออกครบอีก 7-8 จังหวัดในปีหน้า



 4 ตุลาคม 2566

ALL VIDEO