EP11 platform ดูแลคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางทางสังคม

รายการ “สถานีสื่อสุขภาวะ” โดยการสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) จัดเวทีเสวนาทางออนไลน์ผ่านเครือข่ายสื่อสุขภาวะ กขป.ทั่วประเทศ ทุกแพลตฟร์อมของ สช. และเฟสบุคส์ แฟนเพจ กขป.ทุกเขต นำเสนอประเด็นสุขภาพในแต่ละพื้นที่เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตรงประเด็นเพื่อผลักดันสู่นโยบายด้านสุขภาพของประชาชนในภาพรวมของประเทศ แต่ละภูมิภาคอย่างยั่งยืน ดำเนินรายการโดยนายสุชัย เจริญมุขยนันท


รายการ “สถานีสื่อสุขภาวะ” ประจำวันที่ 18 ตุลาคม 2566 โดย กขป.เขต 12 พื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง     ในหัวข้อ Imed@homeและimedcare  platform ดูแลคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางทางสังคม โดยมีผู้ร่วมรายการประกอบด้วย ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง สมาคมอาสาสร้างสุข และ นายคุณภาณุมาศ นนทพันธ์ โปรแกรมเมอร์

ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า แอปพลิเคชั่น นี้เริ่มต้นเกิดจากแนวคิดของคณะทำงาน คือ อยากให้ประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เช่น ผู้สูงอายุในชุมชน  เป็นเจ้าของข้อมูล โดยก่อนนั้นใช้วิธีการ จัดทำตู้ไปรษณีย์ไว้หน้าบ้าน โดยให้กลุ่มเป้าหมาย บันทึกข้อมูลไว้ในสมุดกล่องหน้าบ้าน รวมถึงผู้ที่ไปเยี่ยม ต่อมาจึงพัฒนาเป็น เว็ปไซน์ และ แอปพลิเคชั่นขึ้นมา  เพื่อให้ใช้งานได้ง่ายขึ้นแต่ทั้งนี้ ต้องมีการพัฒนาบุคลากร การอบรมในการใช้งานโปรแกรม รวมถึง อสม.ในพื้นที่ ก็ใช้งานได้ด้วย ซึ่งโปรแกรมจะช่วยให้กลุ่มใช้งานในพื้นที่ มีข้อมูลมากยิ่งขึ้น เช่น ข้อมูลการช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย  และเป็นฐานข้อมูลด้านสุขภาพได้เป็นอย่างดี


นายคุณภาณุมาศ นนทพันธ์ โปรแกรมเมอร์ กล่าวว่า โปรแกรม Imed@home และ imedcare  เกิดขึ้น เนื่องจากการทำงานร่วมกับทางภาครัฐ แต่ทางภาคเอกชนไม่มีข้อมูล เช่น ข้อมูลคนพิการ หากเราต้องการต้องไปขอกับทาง พมจ. อย่างนี้ ก็เลยเกิดแนวคิดในการพัฒนาโปรแกรมนี้ขึ้นมา  โดยการเชิญหน่วยงานที่ทำงานในฐานข้อมูลเดียวกันมาถกและหาแนวทางในการจัดเก็บข้อมูลร่มกัน โดยในเบื้องต้น เราได้จัดทำเป็นเว็ปไซน์ขึ้นมาก่อน  ซึ่งก่อนนั้น ทางหน่วยงานภาครัฐ จะไม่มีข้อมูลเชิงลึกของกลุ่มเป้าหมาย เช่น ข้อมูลคนพิการแต่ละอำเภอ และรายละเอียดต่างๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจ การศึกษา เหล่านี้ยังไม่มี  ก็เลยคุยกับหน่วยงานว่าเราจะเก็บอะไรบ้าง ก็เลยมี  Imed@home ขึ้นมา  ประกอบกับด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันพัฒนาขึ้นมาก เช่นสมาร์ทโฟน ที่กลุ่มเป้าหมายสามารถกรอกข้อมูลตนเองผ่านโปรแกรมได้  ซึ่งหากหน่วยงาน อยู่จะนำไปใช้งาน ก็สามารถดาวน์โหลด แอปพลิเคชั่น นำมาใช้ได้เลย แต่ต้องเรียนรู้หลักการใช้โปรแกรมบ้าง ก็ใช้งานได้ 

นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง สมาคมอาสาสร้างสุข กล่าวว่า ทางสมาคมฯ เป็นอนุกรรมการของ กขป.เขต 12 ด้านเด็ก คนพิการ ผู้สูงอายุ จึงมีโอกาสเข้ามาเชื่อมงานกับหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ เอกชน ที่องค์กรของตนเองทำอยู่แล้ว สำหรับโปรแกรม Imed@home นี้จะช่วยให้หน่วยงานสามารถเข้าถึงข้อมูลเชิงลึก กับกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น เพื่อเชื่อมโยงด้านการช่วยเหลือของกลุ่มเป้าหมาย ในด้านต่างๆ ของกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้พิการขอความช่วยเหลือผ่านมาทางสมาคมฯ ต้องการกายอุปกรณ์ และเรื่องอื่นๆ ก็สามารถนำข้อมูลความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ลงแอฟลิเคชั่น โปรแกรมเข้าก็จะประมวลข้อมูลให้ ทราบว่าเขาต้องการให้ช่วยเหลือเรื่องอะไร เช่น ด้านบ้านพักอาศัย เราก็จะทราบว่าหน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้มีหน่วยงานใดบ้าง ซึ่งก็จะทำให้เราเชื่อมโยงกับหน่วยงานโดยตรงได้ง่ายขึ้น


 31 ตุลาคม 2566

ALL VIDEO