EP12 สุขภาวะกลุ่มเหนือล่าง1

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) หนุนเวทีเสวนาทางออนไลน์ผ่านเครือข่ายสื่อสุขภาวะ กขป.ทั่วประเทศ ทุกแพลตฟร์อมของ สช. และเฟสบุคส์ แฟนเพจ กขป.ทุกเขต นำเสนอประเด็นประเด็นสุขภาพในแต่ละพื้นที่เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตรงประเด็นเพื่อผลักดันสู่นโยบายด้านสุขภาพของประชาชนในภาพรวมของประเทศ และแต่ละภูมิภาคอย่างยั่งยืน


รายการ “สถานีสื่อสุขภาวะ” ดำเนินรายการโดยนายสุชัย เจริญมุขยนันท ประจำวันที่ 25 ตุลาคม 2566 ตอน “สื่อกับงานสุขภาวะ”  ของเขตพื้นที่ กขป 2 ประกอบด้วย 5 จังหวัด คือ จังหวัดตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และ เพชรบูรณ์ โดยมี ผู้ร่วมรายการ คือ ร้อยตำรวจตรีสุขสัณห์  ภิชัย นายกสมาคมเครือข่ายนักสื่อสารชุมชน และ นายวิริทธิ์พล  หิรัญรัตน์ นายกสมาคมนักวิทยุและโทรทัศน์ จ.เพชรบูรณ์

ทางด้าน ร.ต.สุขสัณห์  ภิชัย กล่าวในรายการว่า ในส่วนของจังหวัดในภาคเหนือ 18 จังหวัด ที่มีเขตสุขภาพเพื่อประชาชน 3 เขต ซึ่งก็จะมีคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน หรือ กขป  3 เขต คือ กขป. เขต 1 ,2 และ 3  ซึ่งใน กขป.เขต 2  มีพื้นที่ติดกับชายแดน พม่า ลาว ในบางจังหวัดของภาคเหนือ และก็เป็นพื้นที่ที่มีแม่น้ำสายหลักไหลผ่านหลายจังหวัด เมื่อถึงฤดูน้ำหลากก็จะมีความเสี่ยงต่อภัยน้ำท่วม ที่จะสร้างความเสียหายต่อพืชผลทางการเกษตร รวมถึงโรคภัยต่างๆ ที่จะตามมาด้วย สำหรับประเด็นด้านสุขภาพ ส่วนหนึ่งก็มาจากพืชผลทางการเกษตร ที่มีการใช้สารเคมี มาเป็นส่วนประกอบเพื่อเพิ่มผลผลิต นั่นก็ย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพด้วยเช่นกัน เป็นเรื่องที่ชุมชนจะต้องช่วยกันป้องกัน การใช้กระบวนการความร่วมมือ เช่น “นายดึง เพื่อนประคอง ลูกน้องดัน” ก็เป็นแนวทางที่ดี คือทุกส่วนต้องผลักดันช่วยกัน ผู้นำส่วนราชการ ภาคีเครือข่าย และตัวเกษตรกรเอง ก็จะต้องมีส่วนร่วม ถึงจะสำเร็จ


ส่วนเรื่องสุขภาพทุกช่วงวัย ก็นับว่าเป็นปัญหาของทุกพื้นที่ เป็นช่องว่างของรอยต่อการเปลี่ยนผ่านของโลกยุคเก่ากับโลกยุคสื่อโซเซี่ยล ของสังคม ที่มีช่องว่างระหว่างคนสามวัย  ซึ่งทาง ชุมชน บ้านปลาฝา อ.หลุ่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ได้แสดงถึงความเข้มแข็งและความตั้งใจคนที่เสียสละในชุมชน ที่ตั้งเป็นศูนย์สามวัย ให้เป็นศูนย์กลางของคนสามวัย ทั้งเด็ก และผู้สูงอายุ มาใช้ประโยชน์ร่วมกัน มานานกว่า 16 ปี ซึ่งก็การแก้ปัญหาของเด็กติดเกมส์ และปัญหาอื่นได้เป็นอย่างดี ส่วนโรคภัยที่มาจากการประกอบอาชีพ เช่น ชุมชนทำทอง ที่เป็นพิษภัยสะสมต่อสุขภาพในระยาว ซึ่งจะมีผลกระทบในวงกว้าง ต่อบุตรหลานของชุมชนในระยะยาว อย่างแน่นอน  ซึ่งทางหน่วยงานที่กำกับในพื้นที่ จะต้องมีความเข้มงวดและจริงจังมากขึ้น ส่วนด้านแผนงานการสื่อสารด้านสุขภาพ ของเครือข่ายสื่อสุขภาวะ จะต้องคิดแผนในการสื่อสาร ของ กขป.ในแต่ละเขต เพื่อให้เกิดการต่อเนื่อง รวมถึงรูปแบบและแนวทางในการสื่อสาร เทคนิคใหม่ๆในการนำเสนอ  ที่สำคัญ คือการสนับสนุนงบประมาณ ของ สช. เพื่อให้มีการสื่อสารด้านสุขภาพเข้าถึงประชาชนอย่างต่อเนื่อง


ด้านนายวิริทธิ์พล  หิรัญรัตน์ กล่าวว่า จากการติดตามปริมาณสารเคมีในร่างกายของกลุ่มเกษตรกร หลังจากที่ทางเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสุขภาพชาวบ้านตามกลุ่มเป้าหมาย ที่ผลออกมาคือ มีสารพิษในร่างการในปริมาณที่มากขึ้น  มาตรการในการรณรงค์ในชุมชน ให้หันปลูกผักปลอดสารพิษ ปลูกพืชให้เป็นยา และพยายามจะขยายพื้นที่มากขึ้นเรื่อยๆ เป็นแผนงานที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันอย่างจริงจัง  ส่วนประเด็น คนสามวัย ชุมชนบ้านปลาฝา เป็นพื้นที่ต้นแบบในการแก้ปัญหาของเด็กเยาวชน ที่ติดเกมส์ ติดสื่อโซเซี่ยล รวมถึงปัญหายาเสพติด ได้เป็นรูปธรรมอย่างยิ่ง ด้วยความเสียสละความหวังดีของผู้ใหญ่ในชุมชน  ที่ตั้งศูนย์สามวัย เพื่อเป็นพื้นที่พบกัน ร่วมกิจกรรมกัน ทั้งเด็ก ผู้สูงอายุ จนสามารถลดช่องว่างระหว่างวัยได้  โดยใช้กิจกรรมวันสำคัญ เช่น วันสงกรานต์ วันพ่อ วันแม่ เป็นการสร้างความผูกพันระหว่างวัยได้ สำหรับแผนการสื่อสาร การหนุนเสริมสื่อสุขภาวะ ของ กขป. ที่ผ่านมา  ก็เป็นแนวทางที่ดี ก็อยากให้ทาง สช.หนุนเสริมต่อ ส่วนวิธีการ รูปแบบของการผลิตสื่อ และการดึงคนรุ่นใหม่เข้ามาช่วยสานต่อ ก็เป็นแนวทางที่ยั่งยืนอีกทางหนึ่งด้วย



 31 ตุลาคม 2566

ALL VIDEO