สร้าง ‘พื้นที่กลาง’ ผ่านงานวิจัย ใน 2 จังหวัด ‘สุรินทร์-เพชรบุรี’ วางเครือข่าย ‘ทีมสุขภาพ-ปชช.’ หนุนระบบดูแลสุขภาวะระยะท้าย
30 มิถุนายน 2566
! Font Awesome Pro 6.0.0 by @fontawesome - https://fontawesome.com License - https://fontawesome.com/license (Commercial License) Copyright 2022 Fonticons, Inc.

แม้ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ไปแล้ว และในอีก 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด ด้วยสัดส่วน 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศ

 

สิ่งที่ตามมาสำหรับผู้สูงอายุคือสุขภาพ อาการเจ็บป่วยตามกาลเวลา อีกทั้ง เมื่อเข้าสู่ระยะสุดท้าย หรือต้องเป็นผู้ป่วยผู้สูงอายุที่ต้องดูแลด้านสุขภาพก็จะเจ็บป่วยหนักขึ้น จำนวนผู้สูงอายุในสัดส่วนนี้จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน และต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสมก่อนไปสู่วาระสุดท้ายของชีวิต หรือที่เรียกว่า สิทธิการตายดี

 

อีกด้านของแรงขับเคลื่อนเพื่อดูแลสุขภาวะสังคมสังคมผู้สูงอายุ ก็เริ่มเห็นดอกผลที่เรียกว่าทิศทางการเตรียมพร้อมในเรื่องของระบบสุขภาพ เพื่อรองรับสังคมสูงอายุอย่างเด่นชัดมากขึ้น เพื่อต่อเติมให้ระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย หรือแบบประคับประคอง (Palliative care) ในการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายของชีวิตมีประสิทธิภาพที่สุด

 

การดำเนินโครงการวิจัยที่ชื่อว่า โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการสร้างสุขภาวะในระยะสุดท้ายของชีวิตและการตายดีในผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน (.สุรินทร์ และ .เพชรบุรี)” ที่ขับเคลื่อนร่วมกันระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สำนักงานเขตสุขภาพที่ 9 สุรินทร์ และสำนักงานเขตสุขภาพที่ 5 เพชรบุรี โดยมีสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เข้ามาหนุนการขับเคลื่อน ซึ่งเป็นงานวิจัยที่มีแนวทางการสร้างความร่วมมือที่น่าสนใจ

 

เป้าหมายของโครงการนี้ ในภาพกว้างคือ การพัฒนารูปแบบ กลไกและระบบการสร้างเสริมสุขภาวะในระยะสุดท้ายของชีวิตและการตายดีในชุมชนพื้นที่ .สุรินทร์ และ .เพชรบุรี อย่างมีส่วนร่วม เป็นการสร้างพื้นที่กลางสำหรับทุกภาคีเครือข่าย ระหว่างภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม

 

ทั้งนี้ เพื่อให้ได้เข้ามาร่วมขับเคลื่อนรูปแบบระบบการดูแลสุขภาวะในระยะท้ายรวมไปถึงการดูแลประคับประคองสำหรับผู้สูงอายุบนพื้นฐานปัญหาเดียวกัน โจทย์เดียวกัน และนำไปสู่เป้าหมายเดียวกัน

 

อีกส่วนหนึ่งก็เพื่อค้นหาประเด็น ช่องว่างของกฎหมาย และนโยบายของรัฐในระดับประเทศและระดับจังหวัด รวมถึงให้เป็นต้นแบบที่ทำให้เห็นระบบกลไกการบูรณาการความร่วมมือ การขับเคลื่อนเชิงสังคมของหน่วยงานภาคีเครือข่าย ระหว่างภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม ที่ไปสนับสนุนส่งเสริมระบบการสร้างสุขภาวะในระยะสุดท้ายของชีวิต และการตายดีในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ข้อมูลจากงานวิจัยยังพาไปพบว่า ความร่วมมือเชิงสังคมของภาคีเครือข่ายที่ขับเคลื่อน จะมีความสำคัญอย่างมากต่อการสร้างสุขภาวะอย่างมีส่วนร่วมในพื้นที่ โดยเฉพาะการดูแลผู้สูงอายุระยะสุดท้าย ที่ความร่วมมือจะทำให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม และพัฒนาระบบที่ดูแลด้านสุขภาวะในระยะสุดท้ายของชีวิตและการตายดีในผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

 

การขับเคลื่อนเพื่อสร้างพื้นที่กลางผ่านงานวิจัยของ สช. และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ที่กำลังขับเคลื่อนอยู่ในขณะนี้ ถูกวางเป้าหมายเพื่อให้ภาคีเครือข่ายได้เรียนรู้การขับเคลื่อนงานร่วมกัน รวมไปถึงกิจกรรมที่ชวนสะท้อนถึงความคิดเห็น แนวคิด ที่จะนำไปใช้เป็นข้อมูลพัฒนาระบบดูแลด้านสุขภาวะในระยะสุดท้าย

 

ขณะเดียวกัน ก็ยังหวังเกิดเป็นเครือข่ายที่จะต่อยอดขับเคลื่อนงานด้านนี้ต่อเนื่อง ด้วยการเกิดเป็นกลไก ความร่วมมือ และมีการแบ่งบทบาทขับเคลื่อนระหว่างภาคีเครือข่าย เช่น ในกลุ่มบุคลากรการแพทย์-ด้านสุขภาพ ในหน่วยบริการของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) บุคลากรในองค์กรศาสนาในพื้นที่ จะมีการสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาศักยภาพ ในการสร้างความรู้ความเข้าใจและการยอมรับในเรื่องสุขภาวะในระยะสุดท้ายของชีวิตและการตายดี

 

ขณะที่ภาคประชาชน ก็จะสอดรับการขับเคลื่อนด้วยกิจกรรมสื่อสารทางสังคม สร้างความรู้ความเข้าใจและการยอมรับในเรื่องสุขภาวะในระยะสุดท้ายของชีวิตและการตายดี ผ่านกิจกรรมสร้างการรับรู้และการปฏิบัติเรื่องการสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายให้กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่  ประชาชน กลุ่มผู้นำชุมชน เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อนำไปบอกต่อกับประชาชนในชุมชน

 

ทั้ง 2 จังหวัดที่ร่วมขับเคลื่อนพร้อมกับทีมคณะนักวิจัยของ สช. มีเป้าหมายที่จะได้ผลลัพธ์อันเป็นรูปแบบและระบบการสร้างสุขภาวะในระยะสุดท้ายของชีวิตและการตายดี ในผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่จะช่วยดูแลประชาชนในพื้นที่

 

ขณะที่อีกด้านก็จะเป็นพื้นที่ต้นแบบสำหรับการพัฒนาระบบนี้ในจังหวัดอื่นต่อไป รวมไปถึงให้ภาคีเครือข่ายจากจังหวัดที่ใกล้เคียงกับพื้นที่ต้นแบบคือ .สุรินทร์ และ .เพชรบุรี ได้ศึกษาเป็นแนวทางในอนาคตต่อไป

พร้อมกันนี้ สช. ยังคงเดินหน้าให้ความรู้-รณรงค์ เรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดเตรียมสานพลังกับหน่วยบริการสาธารณสุข และสำนักงานเขตสุขภาพ จำนวน 3 เขต ได้แก่ เขต 4, เขต 7 และ เขต 12 จัดเวทีใหญ่ 3 เวที ในเดือน .. 2566 นี้ โดยสามารถดูรายละเอียดได้ทาง https://main.healthstation.in.th/news/show/917